ผู้บริโภคในเอเชียใช้ชีวิตวิธีติดดินมากขึ้นในการรับภาวะเศรษฐกิจทรุดตัว โดยเลือกซื้อพวกสินค้าราคาถูกไม่มีลูกเล่นน่าตื่นใจ มากกว่าสินค้ามียี่ห้อชั้นนำหรือข้าวของประเภทมีความสามารถทำสิ่งน่าตื่นเต้นทว่าไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ในโลกแห่งความเป็นจริง แนวโน้มเช่นนี้กำลังทำให้ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ในครัวเรือนมีการปรับตัว ขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขายังพอมีหวังที่จะได้ใบสั่งซื้อสินค้ามาประทังสถานการณ์จนกว่าจะผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจไปได้
"คนส่วนใหญ่ลังเลที่จะซื้อของราคาแพง แต่พวกเขายังต้องการสินค้าราคาถูกกว่าแต่มีประโยชน์ใช้สอยเพียงพอ" โคเฮอิ อูเอดะ ผู้จัดการทั่วไปของบิ๊ก คาเมรา เชนจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในญี่ปุ่นบอก
ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อปที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างครบครัน ไปจนถึงหม้อหุงข้าวและเตาอบไมโครเวฟที่มีคุณสมบัติและความสามารถน้อยลง พวกแบรนด์ดังอย่างซัมซุงและแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ ต่างปรับตัวอย่างรวดเร็วและกำลังเร่งผลิตสินค้าแบบพื้นฐานไม่ค่อยมีลูกเล่น ซึ่งสามารถวางจำหน่ายได้ในราคาถูกลง
ทั้งหมดนี้คือวิธีเอาตัวรอดในท่ามกลางเศรษฐกิจทรุดต่ำซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศในเอเชียซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งการส่งออกเป็นหลัก เช่นเกาหลีใต้ก็มียอดส่งออกสินค้าลดลงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
"ในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาสภาพคล่องจะรุนแรงกว่าปัญหากำไรเสียอีก ดังนั้น เรื่องสำคัญก็คือการทำให้โรงงานยังเดินเครื่องต่อไปได้และหาเงินใช้หนี้" ชูซูนโค ศาสตราจารย์ประจำคณะธุรกิจมหาวิทยาลัยยองเซ ในกรุงโซลกล่าวและเสริมว่า "ผู้ผลิตหันมาใช้ยุทธศาสตร์ผลิตของราคาถูกก็เพื่อรักษาสภาพคล่องมากกว่ามุ่งหวังผลกำไร"
ทั้งนี้ ยอดขายสินค้ากลุ่มนี้ทำให้บริษัทรู้สึกโล่งใจขึ้นบ้าง เพราะอย่างน้อยก็มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามา แม้ว่าบริษัทจะมีผลกำไรตกต่ำอย่างหนักหรือถึงกับประสบขาดทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ก็ตาม ดังกรณีของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำไรลดลงมาอยู่ที่ 619,000 ล้านวอนในไตรมาสแรก เทียบกับ 2.2 ล้านล้านวอนเมื่อ 1 ปีก่อน
"คนส่วนใหญ่ลังเลที่จะซื้อของราคาแพง แต่พวกเขายังต้องการสินค้าราคาถูกกว่าแต่มีประโยชน์ใช้สอยเพียงพอ" โคเฮอิ อูเอดะ ผู้จัดการทั่วไปของบิ๊ก คาเมรา เชนจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำในญี่ปุ่นบอก
ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อปที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างครบครัน ไปจนถึงหม้อหุงข้าวและเตาอบไมโครเวฟที่มีคุณสมบัติและความสามารถน้อยลง พวกแบรนด์ดังอย่างซัมซุงและแอลจี อิเล็กทรอนิกส์ ต่างปรับตัวอย่างรวดเร็วและกำลังเร่งผลิตสินค้าแบบพื้นฐานไม่ค่อยมีลูกเล่น ซึ่งสามารถวางจำหน่ายได้ในราคาถูกลง
ทั้งหมดนี้คือวิธีเอาตัวรอดในท่ามกลางเศรษฐกิจทรุดต่ำซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศในเอเชียซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งการส่งออกเป็นหลัก เช่นเกาหลีใต้ก็มียอดส่งออกสินค้าลดลงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
"ในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาสภาพคล่องจะรุนแรงกว่าปัญหากำไรเสียอีก ดังนั้น เรื่องสำคัญก็คือการทำให้โรงงานยังเดินเครื่องต่อไปได้และหาเงินใช้หนี้" ชูซูนโค ศาสตราจารย์ประจำคณะธุรกิจมหาวิทยาลัยยองเซ ในกรุงโซลกล่าวและเสริมว่า "ผู้ผลิตหันมาใช้ยุทธศาสตร์ผลิตของราคาถูกก็เพื่อรักษาสภาพคล่องมากกว่ามุ่งหวังผลกำไร"
ทั้งนี้ ยอดขายสินค้ากลุ่มนี้ทำให้บริษัทรู้สึกโล่งใจขึ้นบ้าง เพราะอย่างน้อยก็มีเงินสดหมุนเวียนเข้ามา แม้ว่าบริษัทจะมีผลกำไรตกต่ำอย่างหนักหรือถึงกับประสบขาดทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ก็ตาม ดังกรณีของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำไรลดลงมาอยู่ที่ 619,000 ล้านวอนในไตรมาสแรก เทียบกับ 2.2 ล้านล้านวอนเมื่อ 1 ปีก่อน