ความคืบหน้าจากผลการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันนี้อนุกรรมการซึ่งที่ประชุมลงมติแต่งตั้ง ได้ประชุมนัดแรก โดยมีการเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการ รวมถึงวางกรอบการทำงานแล้ว
อนุกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เลือก พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน พร้อมเปิดให้อนุกรรมการแสดงความเห็นถึงการตั้งกรอบการศึกษา โดยส่วนใหญ่เห็นควรให้นำความเห็นของแต่ละพรรคการเมือง และผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ ทั้งสภาฯ และวุฒิสภา รวมถึงการเปิดรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ มาเป็นหลักในการพิจารณา และเน้นย้ำที่จะพิจารณาปัญหาของรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ว่าเกิดจากผู้ใช้รัฐธรรมนูญ หรือตัวกฎหมาย โดยอนุกรรมการในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ วุฒิสภา ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดตั้งแต่ปี 2548 และ 2549 ซึ่งยังไม่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จึงควรระมัดระวังข้อเสนอที่อาจทำให้ปัญหาบานปลายได้
อนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการปฏิรูปการเมือง ได้เลือกนายประเสริฐ ชิตพงศ์ เป็นประธาน และเช่นเดียวกัน คือการเปิดให้อนุกรรมการแสดงความเห็นเพื่อวางกรอบการทำงาน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วนพรรคเพื่อไทย เห็นว่าการปฏิรูปการเมืองช้าเกินไปที่จะรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเสนอให้วางกรอบการปฏิรูป โดยเน้นความเข้มแข็งด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งถือเป็นวงจรอุบาทว์
อนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ เลือกนายตวง อันทะไชย เป็นประธาน ขณะที่การแสดงความเห็นของอนุกรรมการแตกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยส่วนหนึ่งเห็นว่าเกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2540 แต่อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าเกิดจากผู้ใช้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการได้มาซึ่งอำนาจและการใช้อำนาจรัฐที่เกินขอบเขต รวมถึงการเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย ตั้งข้อสังเกตถึงใบสั่งทางการเมือง กรณีการวินิจฉัยการเลือกตั้งให้เป็นโมฆะ และการยุบพรรคการเมืองในอดีต ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สร้างความขัดแย้งในสังคม
ทั้งนี้ แต่ละคณะอนุกรรมการได้กำหนดวันประชุมทุกวันพุธและพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์ ก่อนรายงานผลต่อที่ประชุมใหญ่ทุกวันอังคาร ซึ่งนัดแรกของการรายงาน คือวันที่ 19 พฤษภาคมนี้
อนุกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เลือก พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน พร้อมเปิดให้อนุกรรมการแสดงความเห็นถึงการตั้งกรอบการศึกษา โดยส่วนใหญ่เห็นควรให้นำความเห็นของแต่ละพรรคการเมือง และผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ ทั้งสภาฯ และวุฒิสภา รวมถึงการเปิดรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ มาเป็นหลักในการพิจารณา และเน้นย้ำที่จะพิจารณาปัญหาของรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ว่าเกิดจากผู้ใช้รัฐธรรมนูญ หรือตัวกฎหมาย โดยอนุกรรมการในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ วุฒิสภา ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยเกิดตั้งแต่ปี 2548 และ 2549 ซึ่งยังไม่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จึงควรระมัดระวังข้อเสนอที่อาจทำให้ปัญหาบานปลายได้
อนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการปฏิรูปการเมือง ได้เลือกนายประเสริฐ ชิตพงศ์ เป็นประธาน และเช่นเดียวกัน คือการเปิดให้อนุกรรมการแสดงความเห็นเพื่อวางกรอบการทำงาน ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วนพรรคเพื่อไทย เห็นว่าการปฏิรูปการเมืองช้าเกินไปที่จะรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเสนอให้วางกรอบการปฏิรูป โดยเน้นความเข้มแข็งด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งถือเป็นวงจรอุบาทว์
อนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ เลือกนายตวง อันทะไชย เป็นประธาน ขณะที่การแสดงความเห็นของอนุกรรมการแตกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยส่วนหนึ่งเห็นว่าเกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 และ 2540 แต่อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าเกิดจากผู้ใช้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการได้มาซึ่งอำนาจและการใช้อำนาจรัฐที่เกินขอบเขต รวมถึงการเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย ตั้งข้อสังเกตถึงใบสั่งทางการเมือง กรณีการวินิจฉัยการเลือกตั้งให้เป็นโมฆะ และการยุบพรรคการเมืองในอดีต ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สร้างความขัดแย้งในสังคม
ทั้งนี้ แต่ละคณะอนุกรรมการได้กำหนดวันประชุมทุกวันพุธและพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์ ก่อนรายงานผลต่อที่ประชุมใหญ่ทุกวันอังคาร ซึ่งนัดแรกของการรายงาน คือวันที่ 19 พฤษภาคมนี้