ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ระบุเมื่อวันอาทิตย์ (10) ว่า การค้าระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาวิกฤตอาหารโลก ไม่ใช่เป็นต้นเหตุของวิกฤตดังกล่าว นอกจากนั้น เขายังเชื่อว่าหากมีการประสานร่วมมือกันทางการค้าในระดับโลกอย่างดีแล้ว ก็จะทำให้มีการขนส่งอาหารจากแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพไปยังพื้นที่ที่ต้องการอาหารด้วย
ปาสกาล ลามี ผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO กล่าวในที่ประชุมคณะมนตรีด้านนโยบายการค้าอาหารและสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ ที่เมืองซาลซ์บูร์ก ออสเตรีย ว่าสภาพการณ์ทางภูมิศาสตร์ทำให้หลายๆ ประเทศ เช่น อียิปต์ ไม่อาจพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องอาหาร ดังนั้นเขาเห็นว่า "การค้าระหว่างประเทศไม่ใช่ต้นตอของวิกฤตอาหารในปีที่แล้ว ... และที่จริงการค้าระหว่างประเทศทำให้ราคาอาหารลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันกัน ผู้บริโภคจึงมีอำนาจซื้อมากขึ้น"
ทั้งนี้ ในระหว่างปี 2007-2008 ราคาอาหารได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากจนเกิดปัญหาขาดแคลนและเกิดการจลาจลแย่งชิงอาหารกันในหลายๆ ประเทศ และแม้ว่าต่อมาระดับราคาอาหารจะลดลงบ้างแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมีความเห็นว่า การค้าสินค้าเกษตรจะทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังไม่ก่อประโยชน์ให้กับเกษตรกรยากจนหรือกับผู้บริโภคในประเทศยากจนแต่อย่างใด
ลามีระบุว่า โอลิเวียร์ เดอ ชุตเตอร์ ผู้ชำนาญการพิเศษเกี่ยวกับสิทธิด้านอาหารของสหประชาชาติ ได้เคยกล่าวประณามการที่หลายๆ ฝ่ายคาดหวังจะทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร ด้วยวิธีการพึ่งพาการค้ากันจนเกินเลยไป ส่วนกลุ่มเกษตรกรบางส่วนก็เรียกร้องให้มีการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหารให้มากขึ้น
แต่ลามีโต้แย้งว่าการค้าไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารมีความผันผวน เพราะสินค้าเกษตรนั้นคิดเป็นสัดส่วนของการค้าโลกไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตทั่วโลกก็ถูกนำไปทำการค้าขายเพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในขณะที่สัดส่วนของการค้าสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมนั้นสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ปาสกาล ลามี ผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO กล่าวในที่ประชุมคณะมนตรีด้านนโยบายการค้าอาหารและสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ ที่เมืองซาลซ์บูร์ก ออสเตรีย ว่าสภาพการณ์ทางภูมิศาสตร์ทำให้หลายๆ ประเทศ เช่น อียิปต์ ไม่อาจพึ่งพาตนเองได้ในเรื่องอาหาร ดังนั้นเขาเห็นว่า "การค้าระหว่างประเทศไม่ใช่ต้นตอของวิกฤตอาหารในปีที่แล้ว ... และที่จริงการค้าระหว่างประเทศทำให้ราคาอาหารลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันกัน ผู้บริโภคจึงมีอำนาจซื้อมากขึ้น"
ทั้งนี้ ในระหว่างปี 2007-2008 ราคาอาหารได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากจนเกิดปัญหาขาดแคลนและเกิดการจลาจลแย่งชิงอาหารกันในหลายๆ ประเทศ และแม้ว่าต่อมาระดับราคาอาหารจะลดลงบ้างแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมีความเห็นว่า การค้าสินค้าเกษตรจะทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังไม่ก่อประโยชน์ให้กับเกษตรกรยากจนหรือกับผู้บริโภคในประเทศยากจนแต่อย่างใด
ลามีระบุว่า โอลิเวียร์ เดอ ชุตเตอร์ ผู้ชำนาญการพิเศษเกี่ยวกับสิทธิด้านอาหารของสหประชาชาติ ได้เคยกล่าวประณามการที่หลายๆ ฝ่ายคาดหวังจะทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร ด้วยวิธีการพึ่งพาการค้ากันจนเกินเลยไป ส่วนกลุ่มเกษตรกรบางส่วนก็เรียกร้องให้มีการพึ่งพาตนเองทางด้านอาหารให้มากขึ้น
แต่ลามีโต้แย้งว่าการค้าไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารมีความผันผวน เพราะสินค้าเกษตรนั้นคิดเป็นสัดส่วนของการค้าโลกไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และสินค้าเกษตรจากแหล่งผลิตทั่วโลกก็ถูกนำไปทำการค้าขายเพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในขณะที่สัดส่วนของการค้าสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมนั้นสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์