นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากได้หารือกับหอการค้าจีน อินเดีย ญี่ปุ่น อังกฤษ ว่า ทางนักลงทุนต่างประเทศได้ตั้งข้อสังเกตร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 (แก้ไขเพิ่มเติม) เพราะเห็นว่าการแก้ไขยังไม่ชัดเจน เช่น ข้อกำหนดบางประการควรระบุไว้ในกฎหมาย เพื่อให้ผูกพันในระยะยาวหากภาคเอกชนและภาครัฐได้มีข้อสัญญาทางการค้า
ขณะที่ศุลกากรไทย มองว่า ข้อกำหนดบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ควรระบุไว้ในกฎกระทรวงเพราะแก้ไขง่าย และหากกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร การแก้ไขต้องผ่านสภาใช้เวลาในการพิจารณานานมาก รวมถึงการพิจารณาตัดสินค่าปรับเกี่ยวกับการชำระภาษี ซึ่งกำหนดให้ปรับ 4 เท่า เพราะปกติกฎหมายส่วนใหญ่จะกำหนดให้การปรับไม่เกินกี่เท่าของเงินที่ต้องปรับ ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ หรือศาลสามารถผ่อนปรนจากข้อกำหนดดังกล่าวได้
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 แก้ไขเพิ่มเติมร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอเพียงเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณา และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวใช้มานานมาก จึงต้องการแก้ไขให้เป็นระบบ เมื่อมีการแสดงความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ ออกมา จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาการแก้ไขกฎหมาย และรับฟังคิดเห็นจากส่วนต่าง ๆ เพราะถึงแม้ว่าจะเสียเวลาไปบ้างแต่เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะจุดนี้คือ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบพิธีการศุลกากรปรับเปลี่ยนได้ทันกับโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะ จากนี้ไปศุลกากรจะปรับไปสู่การเป็นผู้ให้บริการมากกว่าการจัดเก็บภาษี เพราะแนวโน้มต่อไปเป็นความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการเปิดการค้าเสรีมากขึ้น และจากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมองเห็นว่า ประเทศไทยยังมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และยังเป็นประเทศในอันดับต้น ๆ ที่ต้องการเข้ามาลงทุน
ขณะที่ศุลกากรไทย มองว่า ข้อกำหนดบางส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ ควรระบุไว้ในกฎกระทรวงเพราะแก้ไขง่าย และหากกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร การแก้ไขต้องผ่านสภาใช้เวลาในการพิจารณานานมาก รวมถึงการพิจารณาตัดสินค่าปรับเกี่ยวกับการชำระภาษี ซึ่งกำหนดให้ปรับ 4 เท่า เพราะปกติกฎหมายส่วนใหญ่จะกำหนดให้การปรับไม่เกินกี่เท่าของเงินที่ต้องปรับ ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ หรือศาลสามารถผ่อนปรนจากข้อกำหนดดังกล่าวได้
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร 2469 แก้ไขเพิ่มเติมร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอเพียงเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณา และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวใช้มานานมาก จึงต้องการแก้ไขให้เป็นระบบ เมื่อมีการแสดงความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ ออกมา จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาการแก้ไขกฎหมาย และรับฟังคิดเห็นจากส่วนต่าง ๆ เพราะถึงแม้ว่าจะเสียเวลาไปบ้างแต่เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะจุดนี้คือ จุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบพิธีการศุลกากรปรับเปลี่ยนได้ทันกับโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะ จากนี้ไปศุลกากรจะปรับไปสู่การเป็นผู้ให้บริการมากกว่าการจัดเก็บภาษี เพราะแนวโน้มต่อไปเป็นความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการเปิดการค้าเสรีมากขึ้น และจากสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมองเห็นว่า ประเทศไทยยังมีศักยภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และยังเป็นประเทศในอันดับต้น ๆ ที่ต้องการเข้ามาลงทุน