บรรดาผู้นำของโลกสามารถบรรลุข้อตกลงมูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการประชุมซัมมิตกลุ่มจี20 ที่กรุงลอนดอนเมื่อวันพฤหัสบดี(2) เพื่อพลิกฟื้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบกว่า 70 ปี อีกทั้งประกาศร่วมกันว่าจะเพิ่มการกำกับดูแลระบบการเงินโลก อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดวิกฤตเช่นนี้อีกในอนาคต
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯออกมาประกาศว่าการบรรลุข้อตกลงเหล่านี้ ถือเป็น "จุดเปลี่ยน" แห่งเศรษฐกิจโลก แม้ว่าเขาจะไม่สามารถเกลี้ยกล่อมให้รัฐบาลอื่น ๆให้คำมั่นว่าจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับภาวะชะลอตัวของโลก
ขณะที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส ก็ออกมาแสดงความยินดีต่อการลดอิทธิพลลงเรื่อยๆ ของโมเดลทุนนิยมแบบแองโกล-แซกซอน อันเป็นส่วนผสมระหว่างอังกฤษและอเมริกาซึ่งเน้นการปล่อยเสรีโดยให้มีการกำกับดูแลน้อยที่สุด และตอนนี้ถูกฝ่ายต่างๆ ประณามว่าทุนนิยมแบบนี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหาที่โลกเผชิญอยู่ในขณะนี้
ตลาดหุ้นทั่วโลกแข่งกันทะยานขึ้นจากความหวังที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ซึ่งจะทำให้ประเทศเหล่านี้เริ่มเห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาทิ หุ้นยุโรปในวันพฤหัสบดีนั้นพุ่งขึ้นเฉลี่ย 4.9% ส่วนดัชนีสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ในตลาดหุ้นสหรัฐฯก็พุ่งขึ้น 3.73% อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ก็ออกมาเตือนว่า คำมั่นสัญญาของซัมมิตจี20 อาจจะเป็นความฝันสวยงามที่ไม่ยืนยง
ตลาดเงินและตลาดทุนซึ่งกำลังโหยหาข่าวดีใหม่ ๆในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังหดตัวติดลบลงเป็นปีแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ต่างก็มีปฏิกิริยาในเชิงบวกต่อมาตรการมูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) และการสนับสนุนการค้าโลก ทั้งนี้เม็ดเงินเหล่านี้จำนวนซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนแต่คาดว่าน่าจะมากพอดู จะถูกอัดฉีดตรงไปยังพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ที่กำลังถูกดูดเข้าสู่วังวนแห่งความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจทีละน้อยๆ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯออกมาประกาศว่าการบรรลุข้อตกลงเหล่านี้ ถือเป็น "จุดเปลี่ยน" แห่งเศรษฐกิจโลก แม้ว่าเขาจะไม่สามารถเกลี้ยกล่อมให้รัฐบาลอื่น ๆให้คำมั่นว่าจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อต่อสู้กับภาวะชะลอตัวของโลก
ขณะที่ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส ก็ออกมาแสดงความยินดีต่อการลดอิทธิพลลงเรื่อยๆ ของโมเดลทุนนิยมแบบแองโกล-แซกซอน อันเป็นส่วนผสมระหว่างอังกฤษและอเมริกาซึ่งเน้นการปล่อยเสรีโดยให้มีการกำกับดูแลน้อยที่สุด และตอนนี้ถูกฝ่ายต่างๆ ประณามว่าทุนนิยมแบบนี้เองที่ก่อให้เกิดปัญหาที่โลกเผชิญอยู่ในขณะนี้
ตลาดหุ้นทั่วโลกแข่งกันทะยานขึ้นจากความหวังที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ซึ่งจะทำให้ประเทศเหล่านี้เริ่มเห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาทิ หุ้นยุโรปในวันพฤหัสบดีนั้นพุ่งขึ้นเฉลี่ย 4.9% ส่วนดัชนีสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ในตลาดหุ้นสหรัฐฯก็พุ่งขึ้น 3.73% อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ก็ออกมาเตือนว่า คำมั่นสัญญาของซัมมิตจี20 อาจจะเป็นความฝันสวยงามที่ไม่ยืนยง
ตลาดเงินและตลาดทุนซึ่งกำลังโหยหาข่าวดีใหม่ ๆในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังหดตัวติดลบลงเป็นปีแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ต่างก็มีปฏิกิริยาในเชิงบวกต่อมาตรการมูลค่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) และการสนับสนุนการค้าโลก ทั้งนี้เม็ดเงินเหล่านี้จำนวนซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนแต่คาดว่าน่าจะมากพอดู จะถูกอัดฉีดตรงไปยังพวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ ที่กำลังถูกดูดเข้าสู่วังวนแห่งความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจทีละน้อยๆ