ชาวบ้านจากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ที่ได้รับการประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ รวม 31 ชุมชน และหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมที่เทศบาลเมืองมาบตาพุดจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันนี้ เพื่อรับฟังว่าแนวทางในการประกาศให้มาบตาพุดและพื้นที่เกี่ยวเนื่องเป็นเขตควบคุมมลพิษ รวมถึงการดูแล ขจัด บำบัด และควบคุมมลพิษ จากโรงงานต่างๆ ในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่ง ที่กระจุกตัวอยู่ โดยกฎหมายให้อำนาจท้องถิ่นในการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดกว่ามาตรฐานกลาง และสามารถที่จะจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษด้วยตัวเอง ซึ่งประชาชนในพื้นที่สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บและรายงานข้อมูล ไปจนถึงการวิเคราะห์ ประเมิน และวางมาตรการให้โรงงานดำเนินการ
ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรม ระบุว่า โรงงานมีการดำเนินการตามแผนลดและขจัดมลพิษของส่วนกลางมาตั้งแต่ปี 2550 ดังนั้นจึงไม่มีความยุ่งยาก เพราะเพียงปรับในรายละเอียดให้เข้ากับแผนของท้องถิ่นเท่านั้น
กรณีมลพิษมาบตาพุดมีการร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2539 และส่งผลกระทบอย่างหนัก กระทั่งต้องย้ายโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร และโรงพยาบาลมาบตาพุด ออกจากพื้นที่ แต่ปัญหามลพิษก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข เป็นเหตุให้ชาวบ้าน 27 คน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองระยอง และศาลมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้ ต.มาบตาพุด ต.ห้วยโป่ง ต.เนินพระ ต.ทับมา และ ต.มาบข่า เป็นเขตควบคุมมลพิษ
ขณะที่การนิคมอุตสาหกรรม ระบุว่า โรงงานมีการดำเนินการตามแผนลดและขจัดมลพิษของส่วนกลางมาตั้งแต่ปี 2550 ดังนั้นจึงไม่มีความยุ่งยาก เพราะเพียงปรับในรายละเอียดให้เข้ากับแผนของท้องถิ่นเท่านั้น
กรณีมลพิษมาบตาพุดมีการร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2539 และส่งผลกระทบอย่างหนัก กระทั่งต้องย้ายโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร และโรงพยาบาลมาบตาพุด ออกจากพื้นที่ แต่ปัญหามลพิษก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข เป็นเหตุให้ชาวบ้าน 27 คน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองระยอง และศาลมีคำพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้ ต.มาบตาพุด ต.ห้วยโป่ง ต.เนินพระ ต.ทับมา และ ต.มาบข่า เป็นเขตควบคุมมลพิษ