นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกู้เงินภายในประเทศอีก 9.4 หมื่นล้านบาท เพื่อนำมาชดเชยรายได้ในปี 2552 ว่าเป็นเรื่องที่มีความเหมาะสม เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่าเป้า ดังนั้น การกู้เงินจึงเป็นทางเลือกเดียวที่รัฐบาลสามารถทำได้
ส่วนการที่รัฐบาลเตรียมออกพระราชกำหนดก่อหนี้สาธารณะเพื่อรองรับการกู้เงินมาใช้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 อีก 1.56 ล้านล้านบาทนั้น มองว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะใช้แนวทางใดก็ถือเป็นหนทางที่นำไปสู่การกู้เงินซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในขณะนี้ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การใช้เงินของรัฐบาลมากกว่าว่าจะใช้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประเทศและมีความโปร่งใส
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวอีกว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 เมษายนนี้ ควรมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อยร้อยละ 0.25 - 0.5 ถึงแม้จะไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก แต่ก็เป็นการลดภาระหนี้ให้กับประชาชน
ส่วนการที่รัฐบาลเตรียมออกพระราชกำหนดก่อหนี้สาธารณะเพื่อรองรับการกู้เงินมาใช้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 อีก 1.56 ล้านล้านบาทนั้น มองว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะไม่ว่ารัฐบาลจะใช้แนวทางใดก็ถือเป็นหนทางที่นำไปสู่การกู้เงินซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในขณะนี้ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การใช้เงินของรัฐบาลมากกว่าว่าจะใช้อย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประเทศและมีความโปร่งใส
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวอีกว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 8 เมษายนนี้ ควรมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อยร้อยละ 0.25 - 0.5 ถึงแม้จะไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมากนัก แต่ก็เป็นการลดภาระหนี้ให้กับประชาชน