ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปาฐกถาพิเศษในการประชุมทางวิชาการ เรื่อง "วิกฤตเศรษฐกิจโลกกับกรุงเทพมหานคร" ว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครด้วย เพราะ 1 ใน 5 ของผู้ตกงานทั่วประเทศอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะที่ผู้ว่างงานส่วนหนึ่งมุ่งหน้าเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ แต่กรุงเทพมหนครไม่มีอำนาจและศักยภาพแก้ปัญหานี้โดยตรง จึงขอให้กระทรวงแรงงานเร่งรัดดูแลผู้ว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยกรุงเทพมหานครจะให้ความร่วมมือกับการขยายโครงการฝึกอาชีพ เพิ่มพื้นที่สำหรับผู้ค้ารายย่อย จัดโครงการว่าจ้างนักศึกษาจบใหม่ระยะสั้น 6 เดือน
ส่วนข้อเสนอให้จัดเก็บภาษีน้ำมันไม่เกินร้อยละ 5 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อบำรุงท้องถิ่น เพราะรัฐบาลจัดเก็บภาษีไม่ตรงตามเป้า ทำให้การจัดสรรงบประมาณให้กรุงเทพมหานครได้น้อยลงนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นว่าควรชะลอไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนในภาวะวิกฤต
ขณะที่โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ 2 เส้นทาง คือ ตากสิน-วงเวียนใหญ่ และอ่อนนุช-แบร์ริ่ง คาดว่าจะเสร็จตามกำหนด แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยอมรับว่า มีความกังวลกับโครงการเมกะโปรเจกต์ในอนาคต ที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น โครงการขยายถนนสายต่างๆ การสร้างเตาเผาขยะ
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้เตรียมมาตรการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจสำคัญ คือ การท่องเที่ยว ค้าปลีก ค้าส่ง อุตสาหกรรมขนส่ง สื่อสาร และการสร้างอสังหาริมทรัพย์ เช่น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเศรษฐกิจเหล่านี้ แก้ปัญหาและเพิ่มโอกาส รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย ฝึกอบรมพัฒนาฝีมือด้านต่างๆ และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ให้มีขีดความสามารถ รองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นในระยะยาว
ส่วนข้อเสนอให้จัดเก็บภาษีน้ำมันไม่เกินร้อยละ 5 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อบำรุงท้องถิ่น เพราะรัฐบาลจัดเก็บภาษีไม่ตรงตามเป้า ทำให้การจัดสรรงบประมาณให้กรุงเทพมหานครได้น้อยลงนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นว่าควรชะลอไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนในภาวะวิกฤต
ขณะที่โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ 2 เส้นทาง คือ ตากสิน-วงเวียนใหญ่ และอ่อนนุช-แบร์ริ่ง คาดว่าจะเสร็จตามกำหนด แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยอมรับว่า มีความกังวลกับโครงการเมกะโปรเจกต์ในอนาคต ที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น โครงการขยายถนนสายต่างๆ การสร้างเตาเผาขยะ
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้เตรียมมาตรการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจสำคัญ คือ การท่องเที่ยว ค้าปลีก ค้าส่ง อุตสาหกรรมขนส่ง สื่อสาร และการสร้างอสังหาริมทรัพย์ เช่น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเศรษฐกิจเหล่านี้ แก้ปัญหาและเพิ่มโอกาส รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อย ฝึกอบรมพัฒนาฝีมือด้านต่างๆ และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ให้มีขีดความสามารถ รองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นในระยะยาว