ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายเช็กช่วยชาติ 2,000 บาท โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,047 ตัวอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2552 ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 56.94 ที่ได้รับเช็ก ระบุว่า จะทำการใช้จ่ายบางส่วนที่เหลือจะเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 32.73 ระบุ จะใช้จ่ายเต็มจำนวน 2,000 บาท
สำหรับพฤติกรรมการใช้เช็ก ร้อยละ 80.69 ระบุ จะทำการแลกเป็นเงินสดทันที โดยให้เหตุผลว่า กลัวหาย ต้องการเก็บไว้ใช้นานๆ และสะดวกในการซื้อของมากกว่าเป็นเช็ก โดยสถานที่ที่ประชาชนจะใช้เช็กในการซื้อสินค้า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 38.25 จะใช้ในร้านค้าทั่วไปที่รับเช็ก ร้อยละ 33.92 จะใช้ที่ห้างสรรพสินค้าที่รับเช็ก และร้อยละ 15.44 จะซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อ
เมื่อถามถึงระยะเวลาในการใช้เช็กพบว่า ร้อยละ 40.2 จะทำการใช้เช็กบางส่วนทันที ขณะที่ร้อยละ 21.8 จะทำการใช้จ่ายหมดทันทีเมื่อได้รับเช็ก และร้อยละ 14.2 จะเก็บไว้ใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
สำหรับพฤติกรรมการใช้เช็ก ร้อยละ 80.69 ระบุ จะทำการแลกเป็นเงินสดทันที โดยให้เหตุผลว่า กลัวหาย ต้องการเก็บไว้ใช้นานๆ และสะดวกในการซื้อของมากกว่าเป็นเช็ก โดยสถานที่ที่ประชาชนจะใช้เช็กในการซื้อสินค้า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 38.25 จะใช้ในร้านค้าทั่วไปที่รับเช็ก ร้อยละ 33.92 จะใช้ที่ห้างสรรพสินค้าที่รับเช็ก และร้อยละ 15.44 จะซื้อสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อ
เมื่อถามถึงระยะเวลาในการใช้เช็กพบว่า ร้อยละ 40.2 จะทำการใช้เช็กบางส่วนทันที ขณะที่ร้อยละ 21.8 จะทำการใช้จ่ายหมดทันทีเมื่อได้รับเช็ก และร้อยละ 14.2 จะเก็บไว้ใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์