ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประเมินความรู้สึกของประชาชนผู้มีสิทธิรับเช็กช่วยชาติ ต่อการบริหารจัดการในการแจกเช็ก และความตั้งใจจะจับจ่ายใช้สอย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิรับเช็กใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวน 1,192 ตัวอย่าง วันที่ 26 มีนาคม 2552 พบว่า ความพอใจของประชาชนที่ได้รับเช็กช่วยชาติโดยภาพรวมต่อการบริหารจัดการให้เช็กประชาชนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างพอใจเท่านั้น เช่น ด้านความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการอธิบาย และตอบข้อคำถามต่างๆ ได้ 5.93 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ด้านการติดต่อทางโทรศัพท์กับสำนักงานประกันสังคม 5.28
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับเช็กช่วยชาติร้อยละ 82.8 ระบุจะใช้จ่ายทันที ขณะที่ร้อยละ 17.2 ตั้งใจจะเก็บเอาไว้ก่อน โดยในกลุ่มที่จะใช้จ่ายทันที ร้อยละ10.3 จะใช้จ่ายหนี้สิน ร้อยละ 70.6 จะซื้ออาหาร ร้อยละ 52.2 จะซื้อของใช้ และ 0.7 จะนำไปรวมเงินดาวน์ซื้อสินค้า
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า สำหรับวงเงินเฉลี่ยที่ตั้งใจจะนำไปใช้จ่ายของประชาชนเท่ากับ 1,558.45 บาท หมายความว่า ในกลุ่มคนที่จะใช้จ่ายทันที มีวงเงินเฉลี่ยที่จะยังเก็บออมไว้บางส่วนประมาณ 400-500 บาท
ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งพิจารณาคือ การบริหารจัดการให้ความสะดวกแก่ประชาชน นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการให้เช็กช่วยชาติเช่นนี้อีกใน 6 เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับเช็กช่วยชาติร้อยละ 82.8 ระบุจะใช้จ่ายทันที ขณะที่ร้อยละ 17.2 ตั้งใจจะเก็บเอาไว้ก่อน โดยในกลุ่มที่จะใช้จ่ายทันที ร้อยละ10.3 จะใช้จ่ายหนี้สิน ร้อยละ 70.6 จะซื้ออาหาร ร้อยละ 52.2 จะซื้อของใช้ และ 0.7 จะนำไปรวมเงินดาวน์ซื้อสินค้า
ดร.นพดล กล่าวอีกว่า สำหรับวงเงินเฉลี่ยที่ตั้งใจจะนำไปใช้จ่ายของประชาชนเท่ากับ 1,558.45 บาท หมายความว่า ในกลุ่มคนที่จะใช้จ่ายทันที มีวงเงินเฉลี่ยที่จะยังเก็บออมไว้บางส่วนประมาณ 400-500 บาท
ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งพิจารณาคือ การบริหารจัดการให้ความสะดวกแก่ประชาชน นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการให้เช็กช่วยชาติเช่นนี้อีกใน 6 เดือนข้างหน้า