นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง "อนาคตธุรกิจเหล็ก...ภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ" ว่า บริษัท พีที จาร์กาตั้ว สตีล ซึ่งเป็นบริษัทเหล็กรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ได้เชิญสถาบันเหล็กฯ ไปดูโครงการที่จะลงทุนในช่วงหลังสงกรานต์ และสมาคมเหล็กแห่งชาติของเวียดนาม ได้แสดงความสนใจอยากให้ไทยร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็กแห่งใหม่ หากเหล็กต้นน้ำเกิดในประเทศไม่ได้จริง โดยเวียดนามมีข้อได้เปรียบตรงที่อยู่ใกล้ไทยมากกว่า แต่อินโดนีเซียมีข้อได้เปรียบเรื่องการเจรจาซึ่งง่ายกว่า
ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยคณะกรรมการชุดที่กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้ง คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 100 กว่าล้านบาท ซึ่งน่าจะศึกษาเชิงลึกไม่เกิน 3 จังหวัด โดยดูกรอบพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม หลังจากนั้นกำหนดกรอบมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อยื่นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เชิงลึก คาดว่าจะตัดสินใจเลือกพื้นที่ช่วงปลายปี 2553 ทั้งนี้พื้นที่ที่ศึกษาโครงการโรงถลุงเหล็กยังมีข้อดีข้อด้อย เช่น ชุมพรมีปัญหามวลชน สุราษฎร์ธานี มีปัญหาน้ำตื้น ปัตตานีมีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ และประจวบคีรีขันธ์มีโครงการลงทุนของเครือสหวิริยาอยู่แล้ว
ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยคณะกรรมการชุดที่กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้ง คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 100 กว่าล้านบาท ซึ่งน่าจะศึกษาเชิงลึกไม่เกิน 3 จังหวัด โดยดูกรอบพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม หลังจากนั้นกำหนดกรอบมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อยื่นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เชิงลึก คาดว่าจะตัดสินใจเลือกพื้นที่ช่วงปลายปี 2553 ทั้งนี้พื้นที่ที่ศึกษาโครงการโรงถลุงเหล็กยังมีข้อดีข้อด้อย เช่น ชุมพรมีปัญหามวลชน สุราษฎร์ธานี มีปัญหาน้ำตื้น ปัตตานีมีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ และประจวบคีรีขันธ์มีโครงการลงทุนของเครือสหวิริยาอยู่แล้ว