นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า กฟผ.เตรียมที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติแผนการระดมทุนวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการเสริมสภาพคล่องและลงทุนโครงการต่าง ๆ ของ กฟผ. โดยอาจจะเป็นการระดมทุนในรูปของพันธบัตรอายุ 3 ปี หรือเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ประมาณเดือนเมษายนนี้ หลังผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ในแผนการระดมเงินทุนดังกล่าวอยู่ในแผนที่คณะกรรมการบริหาร กฟผ. ได้อนุมัติแผนการระดมทุนในปีนี้จำนวน 5 หมื่นล้านบาท โดยในจำนวนนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว 1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการออกพันธบัตร 6 พันล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ที่เหลืออีก 4 พันล้านบาท คาดว่าจะสามารถเสนอขายได้ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 2 หมื่นล้านบาท อาจไม่จำเป็นต้องระดมทุนเพิ่มหากรัฐบาลสามารถจ่ายชดเชยคืนเงินคงค้างค่า FT ที่ กฟผ.รับภาระค่าไฟฟ้าแทนประชาชนในช่วงที่ผ่านมาทั้งหมด
ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังกล่าวว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้คาดว่าจะลดลงมากกว่าร้อยละ 2 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและทำให้การผลิตของภาคอุตสาหกรรมหดตัวลง เนื่องจากเป็นภาคที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงถึง ร้อยละ 50 ของ GDP โดยปริมาณการสำรองไฟฟ้า จะอยู่ที่ร้อยละ 28 - 30 ขณะที่ กำลังการผลิตติดตั้ง อยู่ที่ 28,400 เมกะวัตต์ โดยในเดือนเมษายนนี้จะมีการปลดโรงไฟฟ้าเก่าของ กฟผ. 5 โรง รวมกำลังการผลิต 2,700 เมกะวัตต์ และจะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบอีก 3,500 เมกะวัตต์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวลดลงต่อเนื่อง แต่คาดว่า
เดือนมีนาคมนี้จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วง 2 สัปดาห์แรก การใช้ไฟฟ้าขยายตัวเพิ่มขึ้นแล้วร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 4
ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยังกล่าวว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้คาดว่าจะลดลงมากกว่าร้อยละ 2 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและทำให้การผลิตของภาคอุตสาหกรรมหดตัวลง เนื่องจากเป็นภาคที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงถึง ร้อยละ 50 ของ GDP โดยปริมาณการสำรองไฟฟ้า จะอยู่ที่ร้อยละ 28 - 30 ขณะที่ กำลังการผลิตติดตั้ง อยู่ที่ 28,400 เมกะวัตต์ โดยในเดือนเมษายนนี้จะมีการปลดโรงไฟฟ้าเก่าของ กฟผ. 5 โรง รวมกำลังการผลิต 2,700 เมกะวัตต์ และจะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบอีก 3,500 เมกะวัตต์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
ทั้งนี้ การใช้ไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวลดลงต่อเนื่อง แต่คาดว่า
เดือนมีนาคมนี้จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วง 2 สัปดาห์แรก การใช้ไฟฟ้าขยายตัวเพิ่มขึ้นแล้วร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 4