นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งที่ 2 รัฐบาลควรอัดฉีดเงินลงทุนครั้งใหม่ประมาณ 500,000 ล้านบาท เพื่อใช้จ่ายในโครงการหลักๆ อย่างน้อย 4 โครงการ ได้แก่ 1.การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เช่น ระบบขนส่งและระบบลอจิสติกส์ โดยจัดสรรเม็ดเงินจำนวน 357,000 ล้านบาท ในโครงการดังกล่าว พร้อมกับจัดสรรเงินจำนวน 87,000 ล้านบาท ในโครงการด้านพลังงานและโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่ช่วยเกื้อหนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2.รัฐบาลควรส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะใช้เงินทุน 25,000 ล้านบาท 3.การส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร 16,000 ล้านบาท และ 4. ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ด้วยเงินลงทุน 15,000 ล้านบาท
นายเอกชัย กล่าวอีกว่า แม้รัฐบาลจะมีแผนกู้เงินต่างประเทศในวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท แต่แหล่งเงินกู้ต่างประเทศอาจจะมีความไม่แน่นอน หรือความไม่เพียงพอของเงินทุนที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ของรัฐบาล จึงเสนอให้รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ มูลค่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 468,000 ล้านบาท โดยนำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมกับระดมเงินทุนจากแหล่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการพัฒนา ตลอดจนการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และ ภาษีบาป รวมทั้งการกู้ยืมจากภาคเอกชนและจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล
นายเอกชัย กล่าวอีกว่า แม้รัฐบาลจะมีแผนกู้เงินต่างประเทศในวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท แต่แหล่งเงินกู้ต่างประเทศอาจจะมีความไม่แน่นอน หรือความไม่เพียงพอของเงินทุนที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ของรัฐบาล จึงเสนอให้รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ มูลค่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 468,000 ล้านบาท โดยนำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมกับระดมเงินทุนจากแหล่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการพัฒนา ตลอดจนการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และ ภาษีบาป รวมทั้งการกู้ยืมจากภาคเอกชนและจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล