ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง การศึกษาหาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็ก ว่า จากการศึกษาวิจัยเก็บข้อมูลเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 2,452 คน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี พบว่า มีเด็กติดเกม ร้อยละ 13.3 เปรียบเทียบกับจำนวนเด็กไทยทั้งหมดของประเทศ จำนวน 10 ล้านคน ถือว่ามีเด็กติดเกมถึง 1.3 ล้านคน เป็นตัวชี้วัดว่า ขณะนี้สถานการณ์เด็กติดเกมอยู่ในภาวะวิกฤตที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เด็กติดเกมสูงขึ้น พบว่า เด็กผู้ชาย มีโอกาสติดเกมสูงกว่าผู้หญิง 1.6 เท่า เกิดจากความเครียดเรื่องเรียน จึงทำให้หันมาพึ่งพาเกมเพื่อช่วยผ่อนคลาย ด้านลักษณะนิสัยเด็กที่ติดเกมนั้น เด็กจะมีสมาธิสั้น ชอบเอาชนะ มีความท้าทาย ส่วนระยะเวลาการเล่นเกมของเด็กในช่วงปิดเทอม พบว่า หากผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กเล่นเกมมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการติดเกม 3 เท่า
สำหรับแนวทางป้องกันเด็กติดเกมนั้น ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด จะมีโอกาสให้เด็กไม่ติดเกมได้ถึง 4 เท่า ที่สำคัญผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กรู้จักแบ่งเวลา และทำกิจกรรมในครอบครัวร่วมกัน ทั้งนี้ในส่วนของนโยบายรัฐ ควรผลักดันปัญหาเด็กติดเกมให้เป็นวาระแห่งชาติ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่เสี่ยงที่มีเด็กติดเกมสูง เพื่อหามาตรการแก้ไขได้ตรงจุด และควรมีกฎคุมเข้มร้านเกม กำหนดโซนนิ่งพื้นที่ปลอดภัย ไม่ให้บริเวณโรงเรียนและชุมชนมีร้านเกมอยู่
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เด็กติดเกมสูงขึ้น พบว่า เด็กผู้ชาย มีโอกาสติดเกมสูงกว่าผู้หญิง 1.6 เท่า เกิดจากความเครียดเรื่องเรียน จึงทำให้หันมาพึ่งพาเกมเพื่อช่วยผ่อนคลาย ด้านลักษณะนิสัยเด็กที่ติดเกมนั้น เด็กจะมีสมาธิสั้น ชอบเอาชนะ มีความท้าทาย ส่วนระยะเวลาการเล่นเกมของเด็กในช่วงปิดเทอม พบว่า หากผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กเล่นเกมมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการติดเกม 3 เท่า
สำหรับแนวทางป้องกันเด็กติดเกมนั้น ควรหากิจกรรมอื่นๆ ให้เด็กทำ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด จะมีโอกาสให้เด็กไม่ติดเกมได้ถึง 4 เท่า ที่สำคัญผู้ปกครองควรฝึกให้เด็กรู้จักแบ่งเวลา และทำกิจกรรมในครอบครัวร่วมกัน ทั้งนี้ในส่วนของนโยบายรัฐ ควรผลักดันปัญหาเด็กติดเกมให้เป็นวาระแห่งชาติ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่เสี่ยงที่มีเด็กติดเกมสูง เพื่อหามาตรการแก้ไขได้ตรงจุด และควรมีกฎคุมเข้มร้านเกม กำหนดโซนนิ่งพื้นที่ปลอดภัย ไม่ให้บริเวณโรงเรียนและชุมชนมีร้านเกมอยู่