ภาพข่าวเหตุการณ์ที่นายเมาริซิโอ โตซาโดริ สถาปนิกชาวอิตาลี แขวนคอบริเวณสะพานพระราม 8 ที่ถูกสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ นำเสนออย่างอย่างต่อเนื่องเมื่อสัปดาห์ก่อน กลายเป็นภาพตัวอย่างที่นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ นำมาแสดงให้สื่อมวลชนดูในการแถลงข่าว หยุดความรุนแรง และละเมิดสิทธิในสื่อมวลชน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกตำหนิถึงการตีพิมพ์ภาพข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์หัวสีหลายฉบับ ที่ได้นำเสนอภาพ และเนื้อหาข่าวถึงความรุนแรงเกินขอบเขต และถูกนำเสนออย่างต่อเนื่อง จนนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกังวลว่า อาจจะทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมเลียนแบบเหตุการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้
ขณะที่ผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง แสดงความเห็นในฐานะผู้ปฏิบัติงานในสนามข่าวจริงว่า สภาพความแข่งขันทางการตลาดในธุรกิจสื่อนั้นค่อนข้างมีสูง ทำให้ภาพที่จะนำเสนอรวมถึงผู้บริหาร หรือว่านายทุน เป็นผู้ตัดสินใจเลือกภาพ และเนื้อหาที่นำเสนอ จึงเสนอกลับทางนักวิชาการว่า ควรเชิญผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาหารือ หาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้
ขณะที่ผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง แสดงความเห็นในฐานะผู้ปฏิบัติงานในสนามข่าวจริงว่า สภาพความแข่งขันทางการตลาดในธุรกิจสื่อนั้นค่อนข้างมีสูง ทำให้ภาพที่จะนำเสนอรวมถึงผู้บริหาร หรือว่านายทุน เป็นผู้ตัดสินใจเลือกภาพ และเนื้อหาที่นำเสนอ จึงเสนอกลับทางนักวิชาการว่า ควรเชิญผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาหารือ หาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้