นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจสภาพหนี้ภาคครัวเรือนทั่วประเทศ จำนวน 1,202 ตัวอย่าง วันที่ 18-23 กุมภาพันธ์ 2552 ว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 58.4 ระบุมีหนี้ ร้อยละ 41.6 ไม่มีหนี้
นางยาใจ กล่าวว่าสำหรับผู้ที่เป็นหนี้ร้อยละ 83.8 กู้จากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รองลงมากู้จากนายทุนร้อยละ 75.4 สำหรับภาพรวมหนี้ภาคครัวเรือนระบุว่าหนี้สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากบัตรเครดิตถึงร้อยละ 72.01 รองลงมาเป็นหนี้ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 69.26 จากการยืมเพื่อนและคนรู้จัก ร้อยละ 68.62 แหล่งเงินกู้จำแนกตามรายได้ พบว่าเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท จะกู้จากเพื่อนและคนรู้จักอันดับแรก ส่วนเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท กู้จากญาติพี่น้อง ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 143,476.32 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบร้อยละ 57.40 หนี้นอกระบบร้อยละ 42.60 ยอดผ่อนชำระต่อเดือนอยู่ที่ 9,416.50 บาท
ส่วนความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะหนี้ พบว่าภาคครัวเรือนห่วงเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 68.57 รองลงมา คือ ปัญหาการว่างงานของคนใกล้ชิดร้อยละ 51.17 หากเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ พบว่าคนเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 61.72 ระบุว่ามีหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คนเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท กว่าร้อยละ 52.31 ระบุว่าหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ และหากเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ในปัจจุบันและอนาคต 1 ปีข้างหน้า ร้อยละ 59.76 เชื่อว่าหนี้จะเพิ่มกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วน 1 ปีข้างหน้าคาดว่าหนี้จะเพิ่มน้อยกว่ารายได้
อย่างไรก็ตาม ภาคครัวเรือนร้อยละ 91.2 ระบุว่ามีการออมเงิน โดยร้อยละ 64.3 เก็บเงินไว้ที่บ้าน ฝากธนาคาร ร้อยละ 58.7 และทำประกันชีวิตร้อยละ 40.6 แต่คนที่ออมเงินร้อยละ 50 ของรายได้มีเพียงร้อยละ 3.3 ส่วนใหญ่จะออมน้อยกว่าร้อยละ 10
นางยาใจ กล่าวว่าสำหรับผู้ที่เป็นหนี้ร้อยละ 83.8 กู้จากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รองลงมากู้จากนายทุนร้อยละ 75.4 สำหรับภาพรวมหนี้ภาคครัวเรือนระบุว่าหนี้สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากบัตรเครดิตถึงร้อยละ 72.01 รองลงมาเป็นหนี้ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 69.26 จากการยืมเพื่อนและคนรู้จัก ร้อยละ 68.62 แหล่งเงินกู้จำแนกตามรายได้ พบว่าเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท จะกู้จากเพื่อนและคนรู้จักอันดับแรก ส่วนเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท กู้จากญาติพี่น้อง ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 143,476.32 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบร้อยละ 57.40 หนี้นอกระบบร้อยละ 42.60 ยอดผ่อนชำระต่อเดือนอยู่ที่ 9,416.50 บาท
ส่วนความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะหนี้ พบว่าภาคครัวเรือนห่วงเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 68.57 รองลงมา คือ ปัญหาการว่างงานของคนใกล้ชิดร้อยละ 51.17 หากเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ พบว่าคนเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 61.72 ระบุว่ามีหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คนเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท กว่าร้อยละ 52.31 ระบุว่าหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ และหากเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ในปัจจุบันและอนาคต 1 ปีข้างหน้า ร้อยละ 59.76 เชื่อว่าหนี้จะเพิ่มกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วน 1 ปีข้างหน้าคาดว่าหนี้จะเพิ่มน้อยกว่ารายได้
อย่างไรก็ตาม ภาคครัวเรือนร้อยละ 91.2 ระบุว่ามีการออมเงิน โดยร้อยละ 64.3 เก็บเงินไว้ที่บ้าน ฝากธนาคาร ร้อยละ 58.7 และทำประกันชีวิตร้อยละ 40.6 แต่คนที่ออมเงินร้อยละ 50 ของรายได้มีเพียงร้อยละ 3.3 ส่วนใหญ่จะออมน้อยกว่าร้อยละ 10