ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "คนไทยคิดอย่างไร ต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในประเทศไทย " กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 81.3 ทราบข่าวการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย มีเพียง 18.7 ไม่ทราบ แต่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 83.5 กลับไม่ทราบว่าใครคือเลขาธิการอาเซียน ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 16.5 ทราบว่า คือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
เมื่อถามถึงการรับรู้ข่าวความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ในการประชุมครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73 ทราบข่าวการแก้ปัญหาผู้อพยพ หนีเข้าเมือง รองลงมา ร้อยละ 72.1 ทราบข่าวการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 70 ทราบข่าวความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ ร้อยละ 68.5 ทราบข่าวการแก้ปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน
โดยสิ่งที่ประชาชนอยากให้มีการหยิบยกขึ้นมาแก้ไขร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียนมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.4 ระบุ ความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ รองลงมา ร้อยละ 74.7 ระบุ แนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 71.7 ระบุ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ร้อยละ 66.2 ระบุ การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว รองลงไประบุ การแก้ปัญหาด้านผู้อพยพหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาพื้นที่ชายแดน การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน การแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การแก้ปัญหาค้าอาวุธสงคราม และวัฒนธรรมประเพณี ตามลำดับ
นายนพดล กล่าวอีกว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56 คิดว่าประชาชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับน้อย ถึงไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 84.6 คิดว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จ
เมื่อถามถึงการรับรู้ข่าวความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ในการประชุมครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73 ทราบข่าวการแก้ปัญหาผู้อพยพ หนีเข้าเมือง รองลงมา ร้อยละ 72.1 ทราบข่าวการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 70 ทราบข่าวความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ ร้อยละ 68.5 ทราบข่าวการแก้ปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน
โดยสิ่งที่ประชาชนอยากให้มีการหยิบยกขึ้นมาแก้ไขร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียนมากที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.4 ระบุ ความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ รองลงมา ร้อยละ 74.7 ระบุ แนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 71.7 ระบุ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ร้อยละ 66.2 ระบุ การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว รองลงไประบุ การแก้ปัญหาด้านผู้อพยพหนีเข้าเมือง การแก้ปัญหาพื้นที่ชายแดน การแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน การแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การแก้ปัญหาค้าอาวุธสงคราม และวัฒนธรรมประเพณี ตามลำดับ
นายนพดล กล่าวอีกว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 56 คิดว่าประชาชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับน้อย ถึงไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 84.6 คิดว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จ