นายถวัลรัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา โครงการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม เพื่อรองรับการขยายเส้นทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ว่า กระทรวงคมนาคมจะเสนอเรื่องงบประมาณก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนนี้
นายถวัลรัฐ กล่าวว่า หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับ นายทาโร อาโซะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางโรดโชว์ที่ญี่ปุ่น และญี่ปุ่นอนุมัติเงินกู้ 63,000 ล้านเยน สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสีแดง บางซื่อ - รังสิต กระทรวงคมนาคมจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายการลงทุนของภาครัฐ โดยกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด จึงจะใช้เงินตามความจำเป็น โดยจะเน้นโครงการพัฒนาที่มีศักยภาพและโครงการขนส่งภายในประเทศ
ส่วนการสัมมนาโครงการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพ เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม เพื่อรองรับการขยายเส้นทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน เป็นการระดมความคิดเห็น เพื่อศึกษาวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายหลักในการพัฒนาพื้นที่ให้เชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมต่อเนื่อง หลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำและระบบ ราง รวมทั้งเชื่อมโยงการขนส่งเพื่อการค้า การท่องเที่ยว เป็นแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมสำหรับกับการเชื่อมโยงแนวเส้นทางการค้ากับประตูการค้าของประเทศ รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ คือระหว่างไทยกับจีน หรืออินเดีย
นายถวัลรัฐ กล่าวว่า หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับ นายทาโร อาโซะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่างการเดินทางโรดโชว์ที่ญี่ปุ่น และญี่ปุ่นอนุมัติเงินกู้ 63,000 ล้านเยน สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสีแดง บางซื่อ - รังสิต กระทรวงคมนาคมจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายการลงทุนของภาครัฐ โดยกรอบวงเงินงบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด จึงจะใช้เงินตามความจำเป็น โดยจะเน้นโครงการพัฒนาที่มีศักยภาพและโครงการขนส่งภายในประเทศ
ส่วนการสัมมนาโครงการศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพ เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม เพื่อรองรับการขยายเส้นทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน เป็นการระดมความคิดเห็น เพื่อศึกษาวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายหลักในการพัฒนาพื้นที่ให้เชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมต่อเนื่อง หลายรูปแบบ ทั้งทางบก ทางน้ำและระบบ ราง รวมทั้งเชื่อมโยงการขนส่งเพื่อการค้า การท่องเที่ยว เป็นแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมสำหรับกับการเชื่อมโยงแนวเส้นทางการค้ากับประตูการค้าของประเทศ รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ คือระหว่างไทยกับจีน หรืออินเดีย