นายมานิตย์ นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางไปติดตามการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ จ.ขอนแก่น มีการนำเสนอการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอำเภอหนองสองห้อง ซึ่งเป็นโครงการที่น่าสนใจ เพราะไข้เลือดออกในปีนี้เป็นปัญหาสาธารณสุข จากการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2547-2551 เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยปี 2547 พบผู้ป่วย 39,135 ราย ในปี 2551 เพิ่มเป็น 91,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 132 สาเหตุเกิดจากฝนตกระยะยาว ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาเดียวกันคือ เดือนมกราคม 2551 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 1,553 ราย ในปี 2552 เพิ่มเป็น 1,675 ราย
นายมานิตย์ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกติดต่อกันโดยยุงลายเป็นพาหะ การพิชิตยุงลายจะป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงต้องช่วยกันป้องกันอย่าให้ลูกยุงลายเกิด อย่าให้ยุงลายกัด ป้องกันอย่าให้ป่วย และเมื่อป่วยแล้วต้องรีบรักษาอย่าให้เสียชีวิต โดยใช้มาตรการ 4 ป. ปราบยุงลาย ซึ่งทำได้ด้วยประชาชนเอง ได้แก่ 1.ปิดฝาโอ่งให้สนิท 2.เปลี่ยนน้ำในถังและแจกันทุก 7 วัน 3.ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างเลี้ยงบัว และ 4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
ด้าน น.พ.คิมหันต์ ยงรัตนกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในปี 2549 ขอนแก่นมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 1,483 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 84 ต่อประชากรแสนคน และปี 2550 พบ 917 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 52 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 44 ต่อประชากรแสนคน เพื่อลดอัตราป่วยและตาย จึงส่งเสริมให้ภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
นายมานิตย์ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกติดต่อกันโดยยุงลายเป็นพาหะ การพิชิตยุงลายจะป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงต้องช่วยกันป้องกันอย่าให้ลูกยุงลายเกิด อย่าให้ยุงลายกัด ป้องกันอย่าให้ป่วย และเมื่อป่วยแล้วต้องรีบรักษาอย่าให้เสียชีวิต โดยใช้มาตรการ 4 ป. ปราบยุงลาย ซึ่งทำได้ด้วยประชาชนเอง ได้แก่ 1.ปิดฝาโอ่งให้สนิท 2.เปลี่ยนน้ำในถังและแจกันทุก 7 วัน 3.ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างเลี้ยงบัว และ 4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
ด้าน น.พ.คิมหันต์ ยงรัตนกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในปี 2549 ขอนแก่นมีผู้ป่วยไข้เลือดออก 1,483 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 84 ต่อประชากรแสนคน และปี 2550 พบ 917 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 52 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 44 ต่อประชากรแสนคน เพื่อลดอัตราป่วยและตาย จึงส่งเสริมให้ภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย