การประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก หรือ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) ที่ศูนย์ประชุมคองเกรสเซนเตอร์ เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ "ความมั่นคงทางอาหารในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก และมีศักยภาพในการที่จะช่วยเหลือประเทศอื่นๆ" ว่า เนื่องจากปัจจุบันมีประชากรหลายพันล้านคนที่ประสบกับสภาวะขาดแคลนทางอาหาร จึงต้องแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อเปิดตลาดอาหารให้มากขึ้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งหลายองค์กรให้ความสนใจ ทั้งนี้ ในการประชุมอาเซียนซัมมิทจะมีการเสนอแนวคิดเก็บสต๊อกอาหาร โดยเฉพาะข้าวที่ในการประชุม
บรรดาผู้นำในที่ประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม เรียกร้องให้ช่วยเหลือประเทศยากจน โดยนายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า ขอให้ทุกฝ่ายช่วยเหลือประเทศยากจนท่ามกลางการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีประชาชนยากจนเหล่านั้นที่มีชีวิตอยู่ในแต่ละวันด้วยเงินต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแต่ละประเทศพิจารณางบประมาณที่มากพอในการจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐฏิจสำหรับคนยากจนเหล่านั้นด้วย
ด้านนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุว่า การช่วยเหลือคนยากจนจะต้องถูกนำไปบรรจุในแผนจัดระเบียบเศรษฐกิจฉบับใหม่ด้วย พร้อมระบุว่า ทุกฝ่ายจะต้องไม่ลืมที่จะต่อสู้กับปัญหาความยากจน
ทั้งนี้ การประชุมเศรษฐกิจดังกล่าว ยังมีบรรดานักธุรกิจและผู้นำทางการเมือง 2,500 คนเข้าร่วม ซึ่งรวมถึงนายบิล เกตส์ และนางเมริลดา เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่าการส่งเสริมธุรกิจการลงทุนจะช่วยพัฒนาสุขภาพของประชาชนในประเทศยากจนต่างๆ ได้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งหลายองค์กรให้ความสนใจ ทั้งนี้ ในการประชุมอาเซียนซัมมิทจะมีการเสนอแนวคิดเก็บสต๊อกอาหาร โดยเฉพาะข้าวที่ในการประชุม
บรรดาผู้นำในที่ประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม เรียกร้องให้ช่วยเหลือประเทศยากจน โดยนายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระบุว่า ขอให้ทุกฝ่ายช่วยเหลือประเทศยากจนท่ามกลางการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มีประชาชนยากจนเหล่านั้นที่มีชีวิตอยู่ในแต่ละวันด้วยเงินต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแต่ละประเทศพิจารณางบประมาณที่มากพอในการจัดทำแผนกระตุ้นเศรษฐฏิจสำหรับคนยากจนเหล่านั้นด้วย
ด้านนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระบุว่า การช่วยเหลือคนยากจนจะต้องถูกนำไปบรรจุในแผนจัดระเบียบเศรษฐกิจฉบับใหม่ด้วย พร้อมระบุว่า ทุกฝ่ายจะต้องไม่ลืมที่จะต่อสู้กับปัญหาความยากจน
ทั้งนี้ การประชุมเศรษฐกิจดังกล่าว ยังมีบรรดานักธุรกิจและผู้นำทางการเมือง 2,500 คนเข้าร่วม ซึ่งรวมถึงนายบิล เกตส์ และนางเมริลดา เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่าการส่งเสริมธุรกิจการลงทุนจะช่วยพัฒนาสุขภาพของประชาชนในประเทศยากจนต่างๆ ได้