การรื้อฟื้นนโยบายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทำให้ต้องมีการจัดหาพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรมที่หมดสภาพป่านำมาปฏิรูป ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของที่ดินเหล่านี้ว่าจะมาจากที่ใด โดยตามหลักการจะมาจาก 2 กรม คือ กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้ แต่รายงานพื้นที่ป่าของกรมป่าไม้ ระบุว่า มีป่าเสื่อมโทรมกว่า 15 ล้านไร่ แต่ทั้งหมดอยู่ในแผนฟื้นฟูให้คืนสภาพป่าสมบูรณ์ จึงไม่สามารถนำมาปฏิรูปได้
นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. กล่าวว่า ที่ดินภายใต้การบริหารของสำนักงานนั้น เหลืออยู่ประมาณ 4 ล้านไร่ หากจะมีการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.4-01 จำเป็นต้องขอพื้นที่จากหน่วยงานอื่น เช่น กรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์
ข้อมูลกรมป่าไม้ระบุว่า พื้นที่เสื่อมโทรมจนไม่มีสภาพป่า มีจำนวน 67,100,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อย่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ 7,400,000 ไร่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 59,700,000 ไร่ ซึ่งทั้งหมดมีการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งเป็นที่ดิน ส.ป.ก.ไปแล้ว 44,400,000 ไร่ เหลือพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่เพียง 15,300,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานะต่างกัน โดยมีพื้นที่ที่ ส.ป.ก.คืนให้ 11,600,000 ไร่ เนื่องจากไม่มีความเหมาะสมที่จะนำไปปฏิรูป
ขณะนี้ พื้นที่ 15,300,000 ไร่ อยู่ในแผนการฟื้นฟูเพื่อให้คืนสภาพป่า เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ป่าและไม่อยู่ในเขตป่าตามกฎหมาย รวมอยู่เพียง 104,700,000 ไร่ ขณะที่มีเป้าหมายต้องเพิ่มพื้นที่ป่าให้ถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ หรือ 128 ล้านไร่ จึงยังห่างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 23,300,000 ไร่ ดังนั้น หากมีการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ 7,400,000 ไร่ และป่าเสื่อมโทรมที่อยู่นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 15,300,000 ไร่ รวมทั้งสิ้น 22,700,000 ไร่ จะใกล้เคียงเป้าหมายพื้นที่ป่าของประเทศ เพื่อการรักษาสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ รองเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. กล่าวว่า ที่ดินภายใต้การบริหารของสำนักงานนั้น เหลืออยู่ประมาณ 4 ล้านไร่ หากจะมีการปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.4-01 จำเป็นต้องขอพื้นที่จากหน่วยงานอื่น เช่น กรมป่าไม้ และกรมธนารักษ์
ข้อมูลกรมป่าไม้ระบุว่า พื้นที่เสื่อมโทรมจนไม่มีสภาพป่า มีจำนวน 67,100,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อย่างเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ 7,400,000 ไร่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 59,700,000 ไร่ ซึ่งทั้งหมดมีการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งเป็นที่ดิน ส.ป.ก.ไปแล้ว 44,400,000 ไร่ เหลือพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่เพียง 15,300,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานะต่างกัน โดยมีพื้นที่ที่ ส.ป.ก.คืนให้ 11,600,000 ไร่ เนื่องจากไม่มีความเหมาะสมที่จะนำไปปฏิรูป
ขณะนี้ พื้นที่ 15,300,000 ไร่ อยู่ในแผนการฟื้นฟูเพื่อให้คืนสภาพป่า เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ป่าและไม่อยู่ในเขตป่าตามกฎหมาย รวมอยู่เพียง 104,700,000 ไร่ ขณะที่มีเป้าหมายต้องเพิ่มพื้นที่ป่าให้ถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ หรือ 128 ล้านไร่ จึงยังห่างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 23,300,000 ไร่ ดังนั้น หากมีการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ 7,400,000 ไร่ และป่าเสื่อมโทรมที่อยู่นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 15,300,000 ไร่ รวมทั้งสิ้น 22,700,000 ไร่ จะใกล้เคียงเป้าหมายพื้นที่ป่าของประเทศ เพื่อการรักษาสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม