นายสาธิต รังคสิริ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยถึงมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่นำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีในวันนี้ (20 ม.ค.) ได้แก่ มาตรการลดภาษีนิติบุคคลให้กับเอสเอ็มอี (SME) โดยได้หักภาษีในอัตราเหมาจ่าย 0.5% เมื่อมีรายได้ 1 ล้านบาทต่อปี จากเดิมต้องมีรายได้ 60,000 บาทต่อปี
มาตรการสนับสนุนให้เอกชนลงทุนในบริษัทร่วมทุนกับเอสเอ็มอี ก็จะได้รับยกเว้นภาษีในส่วนเงินปันผลเป็นเวลา 3 ปี หรือจะเป็นมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของรายได้ 1.8 ล้านบาทแรก จากเดิมที่จะยกเว้น 1.2 ล้านบาทแรก
มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับนิติบุคคลที่จะสัมมนา หรืออบรมในประเทศ จะนำรายจ่ายมาหักภาษีได้ 2 เท่า
มาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน โดยจะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นเวลา 1 ปี
มาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างองค์กร โดยที่ยกเว้นภาษีจากการควบรวมกิจการ และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ สามารถนำเงินต้นจากการซื้อบ้านในปีนี้ มาหักภาษีได้จำนวน 300,000 บาท และลดลงเหลือ 1.5 แสนบาท ในปีหน้า
ทั้งนี้ เมื่อรวมมาตรการภาษีทั้ง 7 ด้าน รัฐจะสูญเสียรายได้ 10,000 ล้านบาท โดยมาตรการภาษีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ รัฐจะสูญเสียรายได้มากที่สุด 60-70%
มาตรการสนับสนุนให้เอกชนลงทุนในบริษัทร่วมทุนกับเอสเอ็มอี ก็จะได้รับยกเว้นภาษีในส่วนเงินปันผลเป็นเวลา 3 ปี หรือจะเป็นมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับวิสาหกิจชุมชน ในส่วนของรายได้ 1.8 ล้านบาทแรก จากเดิมที่จะยกเว้น 1.2 ล้านบาทแรก
มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับนิติบุคคลที่จะสัมมนา หรืออบรมในประเทศ จะนำรายจ่ายมาหักภาษีได้ 2 เท่า
มาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน โดยจะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นเวลา 1 ปี
มาตรการสนับสนุนการปรับโครงสร้างองค์กร โดยที่ยกเว้นภาษีจากการควบรวมกิจการ และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ สามารถนำเงินต้นจากการซื้อบ้านในปีนี้ มาหักภาษีได้จำนวน 300,000 บาท และลดลงเหลือ 1.5 แสนบาท ในปีหน้า
ทั้งนี้ เมื่อรวมมาตรการภาษีทั้ง 7 ด้าน รัฐจะสูญเสียรายได้ 10,000 ล้านบาท โดยมาตรการภาษีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ รัฐจะสูญเสียรายได้มากที่สุด 60-70%