ระหว่างการสัมมนาของพรรคประชาธิปัตย์ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มี ส.ส.กลุ่มหนึ่งไม่พอใจการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของพรรค และไม่ได้เข้าร่วมสัมมนาด้วย เช่น นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สงขลา นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง รวมทั้งนายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคก็ไม่เข้าร่วม
นอกจากนี้ ส.ส.ส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ไม่เข้าร่วมในการสัมมนา เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อทางพรรค เนื่องจากได้หาเสียงกับชาวบ้านในพื้นที่ไว้ก่อนหน้านี้ ว่าหากพรรคได้เป็นรัฐบาลจะแต่งตั้งคนของพรรคทำหน้าที่รัฐมนตรีเพื่อดูแลปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ แต่การตั้งคณะรัฐมนตรีแสดงให้เห็นว่า พรรคไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขณะเดียวกัน การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้รับผิดชอบกระทรวงมหาดไทยโดยตรง แม้ว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค จะทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง เชื่อว่าจะมีปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน
ส.ส.อาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความกังวลเหตุปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค จากการแต่งตั้ง ครม.และเห็นว่า ผู้ใหญ่ในพรรคต้องรีบดำเนินการคลี่คลายความขัดแย้ง และต้องไม่ปล่อยให้ปัญหาบานปลาย จนเป็นสาเหตุล้มรัฐบาลเหมือนเมื่อปี 2531 ที่เกิดความขัดแย้งในพรรค กับการแต่งตั้งรัฐมนตรี จนเกิดกลุ่ม 10 มกรา ทำให้พรรคแตกและนำไปสู่การยุบสภา โดย ส.ส.คนดังกล่าวเห็นว่า ในสถานการณ์ขณะนี้ หากปล่อยให้ขยายตัวออกไปโดยที่ไม่รีบแก้ไขปัญหา อาจทำให้รัฐบาลปัจจุบันล้มได้
กลุ่ม 10 มกราตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้ง เมื่อปี 2529 ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 100 คน ซึ่งการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ทำให้นำไปสู่การตั้งกลุ่ม 10 มกรา โดยมีสมาชิกทั้งหมด 42 คน และความขัดแย้งขยายตัวจนนำไปสู่การยุบสภาในปี 2531
นอกจากนี้ ส.ส.ส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ไม่เข้าร่วมในการสัมมนา เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อทางพรรค เนื่องจากได้หาเสียงกับชาวบ้านในพื้นที่ไว้ก่อนหน้านี้ ว่าหากพรรคได้เป็นรัฐบาลจะแต่งตั้งคนของพรรคทำหน้าที่รัฐมนตรีเพื่อดูแลปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ แต่การตั้งคณะรัฐมนตรีแสดงให้เห็นว่า พรรคไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ขณะเดียวกัน การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้รับผิดชอบกระทรวงมหาดไทยโดยตรง แม้ว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค จะทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง เชื่อว่าจะมีปัญหาในการทำงานอย่างแน่นอน
ส.ส.อาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความกังวลเหตุปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค จากการแต่งตั้ง ครม.และเห็นว่า ผู้ใหญ่ในพรรคต้องรีบดำเนินการคลี่คลายความขัดแย้ง และต้องไม่ปล่อยให้ปัญหาบานปลาย จนเป็นสาเหตุล้มรัฐบาลเหมือนเมื่อปี 2531 ที่เกิดความขัดแย้งในพรรค กับการแต่งตั้งรัฐมนตรี จนเกิดกลุ่ม 10 มกรา ทำให้พรรคแตกและนำไปสู่การยุบสภา โดย ส.ส.คนดังกล่าวเห็นว่า ในสถานการณ์ขณะนี้ หากปล่อยให้ขยายตัวออกไปโดยที่ไม่รีบแก้ไขปัญหา อาจทำให้รัฐบาลปัจจุบันล้มได้
กลุ่ม 10 มกราตั้งขึ้นหลังการเลือกตั้ง เมื่อปี 2529 ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 100 คน ซึ่งการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ทำให้นำไปสู่การตั้งกลุ่ม 10 มกรา โดยมีสมาชิกทั้งหมด 42 คน และความขัดแย้งขยายตัวจนนำไปสู่การยุบสภาในปี 2531