ว่าที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา เตรียมประกาศแต่งตั้ง มารี ชาปิโร ผู้มีประสบการณ์มากมายด้านการคุมกฎภาคการเงิน ให้เป็นประธานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เอสอีซี)ของสหรัฐฯ คนใหม่ เพื่อช่วยปรับองค์กรยกเครื่องหน่วยงานแห่งนี้ ซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
เอสอีซีก่อตั้งขึ้นหลังจากปี 1929 อันเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลตลาด รวมทั้งพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน แต่เมื่อวอลล์สตรีทดำดิ่งลงอย่างต่อเนื่องจากวิกฤตการเงินในปัจจุบัน และบรรดากรณีฉ้อโกงทางการเงินต่างก็ผุดกันขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้คณะกรรมการตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงว่าทำหน้าที่ได้เหมาะสมแล้วหรือไม่
การล้มละลายของวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อย่างแบร์ สเติร์นส์ และเลห์แมน บราเธอร์สทำให้พวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของเอสอีซี ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดให้มีความโปร่งใส และสมควรที่จะจับความผิดปกติได้มาตั้งแต่ต้นๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายมหาศาลเช่นนี้
และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ร้อนแรงมากขึ้น เมื่อกรณีฉ้อโกงนักลงทุนเป็นเงินถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ ได้รับการเปิดเผยออกมาว่าเป็นฝีมือของนักลงทุนชั้นตำนานอย่างเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ ที่มีความสนิทแนบแน่นกับเอสอีซี และที่หนักกว่านั้นก็คือการฉ้อโกงนี้ดำเนินมาเนิ่นนานหลายปีแล้ว
สำหรับชาปิโรนั้น ตอนนี้มีตำแหน่งเป็นประธานบริหารของสำนักงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังที่พวกอุตสาหกรรมหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นมาดูแลตัวเอง โดยก่อนหน้านี้เธอก็เคยดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในกรรมาธิการของเอสอีซีเป็นเวลาถึงหกปี หลังจากนั้นก็ไปเป็นประธานของคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ (ซีเอฟทีซี) ในปี 1994 ในช่วงที่บิลล์ คลินตัน เป็นประธานาธิบดี
เอสอีซีก่อตั้งขึ้นหลังจากปี 1929 อันเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลตลาด รวมทั้งพลิกฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน แต่เมื่อวอลล์สตรีทดำดิ่งลงอย่างต่อเนื่องจากวิกฤตการเงินในปัจจุบัน และบรรดากรณีฉ้อโกงทางการเงินต่างก็ผุดกันขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้คณะกรรมการตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงว่าทำหน้าที่ได้เหมาะสมแล้วหรือไม่
การล้มละลายของวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อย่างแบร์ สเติร์นส์ และเลห์แมน บราเธอร์สทำให้พวกสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของเอสอีซี ซึ่งมีหน้าที่ต้องกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดให้มีความโปร่งใส และสมควรที่จะจับความผิดปกติได้มาตั้งแต่ต้นๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายมหาศาลเช่นนี้
และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ร้อนแรงมากขึ้น เมื่อกรณีฉ้อโกงนักลงทุนเป็นเงินถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ ได้รับการเปิดเผยออกมาว่าเป็นฝีมือของนักลงทุนชั้นตำนานอย่างเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ ที่มีความสนิทแนบแน่นกับเอสอีซี และที่หนักกว่านั้นก็คือการฉ้อโกงนี้ดำเนินมาเนิ่นนานหลายปีแล้ว
สำหรับชาปิโรนั้น ตอนนี้มีตำแหน่งเป็นประธานบริหารของสำนักงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมการเงิน ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังที่พวกอุตสาหกรรมหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นมาดูแลตัวเอง โดยก่อนหน้านี้เธอก็เคยดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในกรรมาธิการของเอสอีซีเป็นเวลาถึงหกปี หลังจากนั้นก็ไปเป็นประธานของคณะกรรมการกำกับดูแลการค้าตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ (ซีเอฟทีซี) ในปี 1994 ในช่วงที่บิลล์ คลินตัน เป็นประธานาธิบดี