ผลการศึกษาวิจัยขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเซฟ จากตัวอย่างเด็กไทยพุทธ และมุสลิม อายุระหว่าง 7 - 17 ปี จำนวน 2,357 คน ในจ.นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา พบว่าเด็กมีความกังวลและหวาดกลัวต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงยังมองว่าชีวิตมีความเสี่ยง และมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต เช่น การไปโรงเรียน หรือการออกไปเล่นนอกบ้าน โดยเด็กในชุมชนที่มีปัญหาความรุนแรงระดับปานกลาง มีความหวาดกลัวมากที่สุด
นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กมีประสบการณ์ตรงต่อเหตุความไม่สงบ เช่น พบเห็นการถูกฆ่าตัดศีรษะ การต่อสู้ หรือซุ่มโจมตี นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า การลงโทษทางร่างกายทั้งที่โรงเรียน และที่บ้าน เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ขณะที่ 1 ใน 3 ของเด็ก เห็นว่าเหตุความไม่สงบยังทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัวด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีเด็กคนใดมีทัศนคติด้านลบต่อศาสนาอื่นๆ และไม่คิดว่าศาสนาจะเป็นต้นเหตุต่อความไม่สงบในพื้นที่ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงทำให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่จะป้องกันและยุติความรุนแรงได้ โดยไม่ควรถ่ายทอดความรุนแรงจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุนหนึ่ง และควรเร่งสร้างสันติภาพโดยตรงไปยังกลุ่มเด็ก และเยาวชน เพื่อเป็นการแก้ปัญหา
นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กมีประสบการณ์ตรงต่อเหตุความไม่สงบ เช่น พบเห็นการถูกฆ่าตัดศีรษะ การต่อสู้ หรือซุ่มโจมตี นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า การลงโทษทางร่างกายทั้งที่โรงเรียน และที่บ้าน เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ขณะที่ 1 ใน 3 ของเด็ก เห็นว่าเหตุความไม่สงบยังทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัวด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีเด็กคนใดมีทัศนคติด้านลบต่อศาสนาอื่นๆ และไม่คิดว่าศาสนาจะเป็นต้นเหตุต่อความไม่สงบในพื้นที่ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงทำให้เห็นว่ายังมีโอกาสที่จะป้องกันและยุติความรุนแรงได้ โดยไม่ควรถ่ายทอดความรุนแรงจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุนหนึ่ง และควรเร่งสร้างสันติภาพโดยตรงไปยังกลุ่มเด็ก และเยาวชน เพื่อเป็นการแก้ปัญหา