นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิตทางด้านดาราศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า หลังจากคนไทยทั่วประเทศได้เห็น "จันทร์ยิ้ม"หรือคำถูกต้องที่ใช้เรียกปรากฏการณ์นี้คือ "การร่วมทิศของดวงจันทร์กับดาวเคราะห์" หรือชาวบ้านเรียกว่า "ดาวเคียงเดือน" ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเวลาหัวค่ำของวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเห็นดวงจันทร์เป็นริมฝีปากของคนกำลังยิ้ม มีดาวศุกร์เป็นตาซ้ายที่สว่างกว่าดาวพฤหัสบดีที่เป็นตาขวา
อย่างไรก็ตาม คนไทยจะได้เห็นปรากฏการณ์จันทร์ยิ้มอีกครั้ง ในวันที่ 23 เมษายน 2552 เวลา 05.10 น. ดาวศุกร์จะเป็นดาวรุ่งอยู่ใกล้ดาวอังคาร และดวงจันทร์เสี้ยวข้างแรมแก่ๆ อยู่ด้านล่าง ดูเป็นรูปคนยิ้ม เหมือนกันทางทิศตะวันออก โดยตาซ้ายยังเป็นดาวศุกร์และตาขวาเป็นดาวอังคาร ในขณะที่ดาวพฤหัสบดีสว่างอยู่สูงกว่า
อาจารย์เบญจวรรณ ศรีเจริญ ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษา สสวท. กล่าวว่า ปรากฏการณ์จันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่สดใสและเป็นที่สนใจแก่ทุกคนที่มองท้องฟ้า ดังนั้น ครูวิทยาศาสตร์น่าจะใช้โอกาสนี้ ให้จันทร์ยิ้มเป็นแหล่งเรียนรู้จากท้องฟ้า เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างๆ ในท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวเคราะห์ (ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี) ดวงจันทร์ เนื่องด้วยดาวแต่ละดวงจะมีอัตราการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกต่างกัน โดยดวงจันทร์เท่านั้นที่เคลื่อนที่รอบโลก ในขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ โอกาสที่จะเคลื่อนที่มาพบกัน หรือร่วมทิศ จึงเป็นปรากฏการณ์นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง
อย่างไรก็ตาม คนไทยจะได้เห็นปรากฏการณ์จันทร์ยิ้มอีกครั้ง ในวันที่ 23 เมษายน 2552 เวลา 05.10 น. ดาวศุกร์จะเป็นดาวรุ่งอยู่ใกล้ดาวอังคาร และดวงจันทร์เสี้ยวข้างแรมแก่ๆ อยู่ด้านล่าง ดูเป็นรูปคนยิ้ม เหมือนกันทางทิศตะวันออก โดยตาซ้ายยังเป็นดาวศุกร์และตาขวาเป็นดาวอังคาร ในขณะที่ดาวพฤหัสบดีสว่างอยู่สูงกว่า
อาจารย์เบญจวรรณ ศรีเจริญ ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษา สสวท. กล่าวว่า ปรากฏการณ์จันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่สดใสและเป็นที่สนใจแก่ทุกคนที่มองท้องฟ้า ดังนั้น ครูวิทยาศาสตร์น่าจะใช้โอกาสนี้ ให้จันทร์ยิ้มเป็นแหล่งเรียนรู้จากท้องฟ้า เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างๆ ในท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวเคราะห์ (ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี) ดวงจันทร์ เนื่องด้วยดาวแต่ละดวงจะมีอัตราการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกต่างกัน โดยดวงจันทร์เท่านั้นที่เคลื่อนที่รอบโลก ในขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ โอกาสที่จะเคลื่อนที่มาพบกัน หรือร่วมทิศ จึงเป็นปรากฏการณ์นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง