กิจการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ตั้งฐานอยู่ในอังกฤษ มีไม่ถึง 10% ที่วางแผนจะลงนามรับรองจรรยาบรรณมาตรฐานการดำเนินงาน ซึ่งจัดทำโดยตัวแทนของอุตสาหกรรมแขนงนี้เอง ทั้งนี้ตามรายงานการสำรวจของ คิเนติก พาร์ตเนอร์ส บริษัทที่ปรึกษาของแวดวงเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งนำออกเผยแพร่วันจันทร์(17)
จากการสำรวจเฮดจ์ฟันด์จำนวนมากกว่า 100 กองทุน ซึ่งรวมกันแล้วเป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์เกินกว่าครึ่งหนึ่งของกองทุนประเภทนี้ที่ดำเนินการอยู่ในอังกฤษ คิเนติก พาร์ตเนอร์ส ยังพบด้วยว่า เกือบหนึ่งในห้าระบุออกมาอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะไม่ทำตามมาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณกองทุนเฮดจ์ฟันด์ดังกล่าว ขณะที่ราวสองในสามตอบว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ
จรรยาบรรณดังกล่าวนี้ จัดทำขึ้นโดย คณะทำงานของเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund Working Group) ที่ประกอบด้วยพวกผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ชั้นนำจำนวน 14 ราย และส่วนใหญ่ตั้งฐานดำเนินงานอยู่ในกรุงลอนดอน ต่อจากนั้น คณะกรรมการมาตรฐานของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund Standards Board หรือ HFSB) ซึ่งเป็นตัวแทนของพวกผู้จัดการกองทุนที่รวมกันแล้วเป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ของเฮดจ์ฟันด์ในยุโรปประมาณครึ่งหนึ่ง ก็ได้ให้การรับรองเห็นชอบ
จรรยาบรรณสำหรับกองทุนเฮดจ์ฟันด์นี้ เน้นในเรื่องมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลและธรรมาภิบาล ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นความพยายามในการตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากภายนอกที่ว่า อุตสาหกรรมแขนงนี้มีการปกปิดไม่โปร่งใส ตลอดจนเป็นการต้านทานความพยายามของทางการที่จะออกกฎวางกรอบมากำกับดูแล
จากการสำรวจเฮดจ์ฟันด์จำนวนมากกว่า 100 กองทุน ซึ่งรวมกันแล้วเป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์เกินกว่าครึ่งหนึ่งของกองทุนประเภทนี้ที่ดำเนินการอยู่ในอังกฤษ คิเนติก พาร์ตเนอร์ส ยังพบด้วยว่า เกือบหนึ่งในห้าระบุออกมาอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะไม่ทำตามมาตรฐานต่างๆ ที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณกองทุนเฮดจ์ฟันด์ดังกล่าว ขณะที่ราวสองในสามตอบว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ
จรรยาบรรณดังกล่าวนี้ จัดทำขึ้นโดย คณะทำงานของเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund Working Group) ที่ประกอบด้วยพวกผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ชั้นนำจำนวน 14 ราย และส่วนใหญ่ตั้งฐานดำเนินงานอยู่ในกรุงลอนดอน ต่อจากนั้น คณะกรรมการมาตรฐานของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund Standards Board หรือ HFSB) ซึ่งเป็นตัวแทนของพวกผู้จัดการกองทุนที่รวมกันแล้วเป็นผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ของเฮดจ์ฟันด์ในยุโรปประมาณครึ่งหนึ่ง ก็ได้ให้การรับรองเห็นชอบ
จรรยาบรรณสำหรับกองทุนเฮดจ์ฟันด์นี้ เน้นในเรื่องมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลและธรรมาภิบาล ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นความพยายามในการตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากภายนอกที่ว่า อุตสาหกรรมแขนงนี้มีการปกปิดไม่โปร่งใส ตลอดจนเป็นการต้านทานความพยายามของทางการที่จะออกกฎวางกรอบมากำกับดูแล