นายลักษณ์ วจนานวัช รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวระหว่างการตรวจเยี่ยมโครงการกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเอสเอ็มแอล และสินค้าโอท็อป ร่วมกับนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ว่า หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีนโยบายให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐปล่อยสินเชื่อให้กับกองทุนเอสเอ็มแอลที่มีศักยภาพโดยไม่จำกัดเพดาน เพราะหากกองทุนใดมีผลประกอบการดี มีเงินทุนหมุนเวียนสูงก็สามารถปล่อยสินเชื่อให้ได้ตามขนาดต้องการ ซึ่งเรื่องดังกล่าวทาง ธ.ก.ส.เตรียมนำไปพิจารณาปล่อยสินเชื่อเพื่อต่อยอดให้กับเอสเอ็มแอล โดยในปี 2551 ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อต่อยอด 16,000 ล้านบาท และปี 2552 จะเพิ่มขึ้นอีก
นอกจากนี้ ยังจะเน้นการพัฒนาปรับปรุงดูแลผลักดันให้กองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งพัฒนาไปสู่สถาบันการเงินชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นธนาคารชุมชนปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกเหมือนกับ ธ.ก.ส. เพื่อรับวงเงินสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ขนาดวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อแล้วก็จะส่งผ่านงานดังกล่าวไปให้กองทุนหมู่บ้านทำหน้าที่แทนโดยธนาคารจะเป็นพี่เลี้ยง เพราะเห็นว่า เป็นงานที่ไม่ซับซ้อนจะทำให้เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.ไปทำงานด้านอื่นที่ซับซ้อนกว่า เช่น วิเคราะห์สินเชื่อหรือการดูแลแผนพัฒนาให้กับเกษตรกร เมื่อกองทุนเอสเอ็มแอลมีศักยภาพ มีเงินหมุนเวียนมากขึ้นก็พร้อมปล่อยสินเชื่อต่อยอดให้ตามศักยภาพ โดยไม่จำกัดเพดานเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่า ในพื้นที่ ธ.ก.ส.ทั้ง 9 ภาคทั่วประเทศจะผลักดันให้เป็นกองทุนที่มีความเข้มแข็งประมาณร้อยละ 10 จากกองทุนเอสเอ็มแอลที่ ธ.ก.ส.ดูแล 13,000 หมู่บ้าน เป็นเงิน 3,068 ล้านบาท
นายลักษณ์ กล่าวว่า ธ.ก.ส.พร้อมส่งผ่านเงินกองทุนเอสเอ็มแอล ประมาณร้อยละ 50 ของ 9,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเอสเอ็มแอล ที่รัฐบาลจะส่งผ่านให้เสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนที่เหลือจะเป็นของธนาคารออมสิน นับว่าเป็นการส่งเงินให้เอสเอ็มแอล รอบ 2 ขณะที่รอบ 3 รัฐบาลมีแผนจัดสรรอีก 5,000 ล้านบาทในเดือนมกราคม จึงเชื่อว่าปัญหาการขาดทุนหมุนเวียนของกองทุนน่าจะคลี่คลายมากขึ้น และสามารถพัฒนาสินค้าต่างๆ ได้อย่างมีศักยภาพ
นอกจากนี้ ยังจะเน้นการพัฒนาปรับปรุงดูแลผลักดันให้กองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งพัฒนาไปสู่สถาบันการเงินชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นธนาคารชุมชนปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกเหมือนกับ ธ.ก.ส. เพื่อรับวงเงินสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ขนาดวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อแล้วก็จะส่งผ่านงานดังกล่าวไปให้กองทุนหมู่บ้านทำหน้าที่แทนโดยธนาคารจะเป็นพี่เลี้ยง เพราะเห็นว่า เป็นงานที่ไม่ซับซ้อนจะทำให้เจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส.ไปทำงานด้านอื่นที่ซับซ้อนกว่า เช่น วิเคราะห์สินเชื่อหรือการดูแลแผนพัฒนาให้กับเกษตรกร เมื่อกองทุนเอสเอ็มแอลมีศักยภาพ มีเงินหมุนเวียนมากขึ้นก็พร้อมปล่อยสินเชื่อต่อยอดให้ตามศักยภาพ โดยไม่จำกัดเพดานเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่า ในพื้นที่ ธ.ก.ส.ทั้ง 9 ภาคทั่วประเทศจะผลักดันให้เป็นกองทุนที่มีความเข้มแข็งประมาณร้อยละ 10 จากกองทุนเอสเอ็มแอลที่ ธ.ก.ส.ดูแล 13,000 หมู่บ้าน เป็นเงิน 3,068 ล้านบาท
นายลักษณ์ กล่าวว่า ธ.ก.ส.พร้อมส่งผ่านเงินกองทุนเอสเอ็มแอล ประมาณร้อยละ 50 ของ 9,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเอสเอ็มแอล ที่รัฐบาลจะส่งผ่านให้เสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนที่เหลือจะเป็นของธนาคารออมสิน นับว่าเป็นการส่งเงินให้เอสเอ็มแอล รอบ 2 ขณะที่รอบ 3 รัฐบาลมีแผนจัดสรรอีก 5,000 ล้านบาทในเดือนมกราคม จึงเชื่อว่าปัญหาการขาดทุนหมุนเวียนของกองทุนน่าจะคลี่คลายมากขึ้น และสามารถพัฒนาสินค้าต่างๆ ได้อย่างมีศักยภาพ