ประชานิยมต่อเนื่อง ธ.ก.ส.เล็งขยายปล่อยกู้ต่อยอดกองทุนหมู่บ้านให้สูงสุดถึง 3 ล้านบาท จากเดิมให้จำกัดไม่เกิน 1 ล้านบาท ชี้ชาวบ้านมีวินัยสูงส่งผลหนี้เสียแค่ 1% ดันยอดปล่อยกู้ถึง 2 หมื่นล้าน ด้านออมสินเหลือยอดคงค้างแค่ 3.6 พันล้านบาท เหตุกองทุนพึ่งตัวเองมากขึ้น
นายพรชัย ลิมปภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อสถาบัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านว่าในส่วนของ ธ.ก.ส.ที่ดูแลบัญชีอยู่รวมทั้งสิ้น 2.4 หมื่นกองทุน จากจำนวน 7.8 กองทุนนั้น แบ่งเป็นการปล่อยกู้แทนรัฐบาล 1.3 หมื่นล้านบาท ที่เหลือธนาคารออมสินเป็นผู้โอนเงินเข้าบัญชีกองทุน โดยในช่วงดำเนินโรงการมานั้นธนาคารมีการปล่อยกู้ต่อยอดให้หมู่บ้านอีกไม่เกิน 1 ล้านบาทนั้น รวมเป็นเม็ดเงินที่ปล่อยไปแล้ว 1.6 หมื่นล้านบาท
ช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลธนาคารจะพิจารณาปล่อยกู้ต่อยอดให้หมู่บ้านและชุมเมืองที่มีศักยภาพ และมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 3 ล้านบาท เพราะ 1 ล้านบาท อาจไม่เพียงพอเพื่อให้กองทุนสามารถนำไปจัดสรรไปกู้ต่อให้สมาชิกหมู่บ้านเพื่อประกอบอาชีพและหารายได้เพิ่มในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยคาดว่าสิ้นปีนี้วงเงินปล่อยกู้จะเพิ่มอีก 4 พันล้านบาท รวมเป็นการปล่อยกู้หมุนเวียนให้กองทุนเพิ่มขึ้นไปถึง 2 หมื่นล้านบาท และอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีถัดๆ ไป
“การปล่อยสินเชื่อต่อยอดให้กองทุนนั้นส่วนใหญ่มีการชำระคืนที่ค่อนข้างดี มีหนี้เสียเพียงแค่ 1% เท่านั้น น้อยกว่าหนี้เสียภาพรวมของโครงการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นเงินงบประมาณหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทที่อยู่ในระดับ 4% ด้วยซ้ำ เพราะชาวบ้านมีระเบียบวินัยในการใช้เงิน และมีคณะกรรมการกองทุนช่วยสกรีนให้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว”นายพรชัย กล่าวและว่าในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนั้นรายย่อยยังมีความเข้มแข็งไม่น่าจะได้รับกระทบมากเหมือนคนในเมืองจึงเชื่อว่าจะไม่เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านนั้น ธ.ก.ส.ได้รับงบประมาณชำระคืนจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี และในปี 2552 จะได้รับจัดสรรอีก 3 พันล้านบาทก็จะครบตามจำนวน จึงไม่มีผลกระทบกับธนาคารแต่อย่างใดโดยยังเหลือเพียงเงินงวดใหม่ที่โอนให้กองทุนอีก 249 หมู่บ้านเท่านั้น
ด้านธนาคารออมสินระบุว่า ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านธนาคารปล่อยกู้ต่อยอดให้แล้วเป็นเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท จำนวน 1.16 กองทุน เฉลี่ยวงเงินตั้งแต่ 4 แสน-1.5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดและศักยภาพของหมู่บ้าน โดยสิ้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาเหลือสินเชื่อคงค้างเพียง 3.6 พันล้านบาท จำนวน 5.7 พันกองทุนและมีหนี้เสียเพียง 3% เท่านั้น ต่ำกว่าหนี้เสียที่ปล่อยกู้ในเมืองด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ มองว่าการขอสินเชื่อต่อยอดมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ เพราะหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยการใช้เงินออมของสมาชิก ซึ่งขณะนี้มีการตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนนำร่องแล้ว 179 แห่งมีเงินฝากและเงินออมรวมกันประมาณ 120 ล้านบาท ผู้ฝากกว่า 6 หมื่นราย มีการกู้เงินกว่า 94 ล้านบาท จำนวน 7.2 พันราย
ส่วนงบประมณที่รัฐบาลชำระคืนต่อเนื่องนั้น ในปี 2552 เหลือวงเงินอีกเพียง 300 กว่าล้านบาทเท่านั้น ในส่วนที่โอนเงินไปใหม่อีก 658 ล้านบาทนั้นไม่น่าจะมีปัญหา
นายพรชัย ลิมปภาส ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อสถาบัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงการดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านว่าในส่วนของ ธ.ก.ส.ที่ดูแลบัญชีอยู่รวมทั้งสิ้น 2.4 หมื่นกองทุน จากจำนวน 7.8 กองทุนนั้น แบ่งเป็นการปล่อยกู้แทนรัฐบาล 1.3 หมื่นล้านบาท ที่เหลือธนาคารออมสินเป็นผู้โอนเงินเข้าบัญชีกองทุน โดยในช่วงดำเนินโรงการมานั้นธนาคารมีการปล่อยกู้ต่อยอดให้หมู่บ้านอีกไม่เกิน 1 ล้านบาทนั้น รวมเป็นเม็ดเงินที่ปล่อยไปแล้ว 1.6 หมื่นล้านบาท
ช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลธนาคารจะพิจารณาปล่อยกู้ต่อยอดให้หมู่บ้านและชุมเมืองที่มีศักยภาพ และมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 3 ล้านบาท เพราะ 1 ล้านบาท อาจไม่เพียงพอเพื่อให้กองทุนสามารถนำไปจัดสรรไปกู้ต่อให้สมาชิกหมู่บ้านเพื่อประกอบอาชีพและหารายได้เพิ่มในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยคาดว่าสิ้นปีนี้วงเงินปล่อยกู้จะเพิ่มอีก 4 พันล้านบาท รวมเป็นการปล่อยกู้หมุนเวียนให้กองทุนเพิ่มขึ้นไปถึง 2 หมื่นล้านบาท และอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีถัดๆ ไป
“การปล่อยสินเชื่อต่อยอดให้กองทุนนั้นส่วนใหญ่มีการชำระคืนที่ค่อนข้างดี มีหนี้เสียเพียงแค่ 1% เท่านั้น น้อยกว่าหนี้เสียภาพรวมของโครงการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นเงินงบประมาณหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทที่อยู่ในระดับ 4% ด้วยซ้ำ เพราะชาวบ้านมีระเบียบวินัยในการใช้เงิน และมีคณะกรรมการกองทุนช่วยสกรีนให้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว”นายพรชัย กล่าวและว่าในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนั้นรายย่อยยังมีความเข้มแข็งไม่น่าจะได้รับกระทบมากเหมือนคนในเมืองจึงเชื่อว่าจะไม่เกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านนั้น ธ.ก.ส.ได้รับงบประมาณชำระคืนจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี และในปี 2552 จะได้รับจัดสรรอีก 3 พันล้านบาทก็จะครบตามจำนวน จึงไม่มีผลกระทบกับธนาคารแต่อย่างใดโดยยังเหลือเพียงเงินงวดใหม่ที่โอนให้กองทุนอีก 249 หมู่บ้านเท่านั้น
ด้านธนาคารออมสินระบุว่า ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการกองทุนหมู่บ้านธนาคารปล่อยกู้ต่อยอดให้แล้วเป็นเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท จำนวน 1.16 กองทุน เฉลี่ยวงเงินตั้งแต่ 4 แสน-1.5 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดและศักยภาพของหมู่บ้าน โดยสิ้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาเหลือสินเชื่อคงค้างเพียง 3.6 พันล้านบาท จำนวน 5.7 พันกองทุนและมีหนี้เสียเพียง 3% เท่านั้น ต่ำกว่าหนี้เสียที่ปล่อยกู้ในเมืองด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ มองว่าการขอสินเชื่อต่อยอดมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ เพราะหมู่บ้านจำนวนไม่น้อยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยการใช้เงินออมของสมาชิก ซึ่งขณะนี้มีการตั้งเป็นสถาบันการเงินชุมชนนำร่องแล้ว 179 แห่งมีเงินฝากและเงินออมรวมกันประมาณ 120 ล้านบาท ผู้ฝากกว่า 6 หมื่นราย มีการกู้เงินกว่า 94 ล้านบาท จำนวน 7.2 พันราย
ส่วนงบประมณที่รัฐบาลชำระคืนต่อเนื่องนั้น ในปี 2552 เหลือวงเงินอีกเพียง 300 กว่าล้านบาทเท่านั้น ในส่วนที่โอนเงินไปใหม่อีก 658 ล้านบาทนั้นไม่น่าจะมีปัญหา