นางนพพร ลิ้นทอง ผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ ยอมรับว่า มีการปลอมปนข้าวหอมมะลิของไทย ที่เมืองเซียะเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยไปปลอมปนข้าวอื่นแล้วใช้ตราสัญลักษณ์ของผู้นำเข้า ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างการแจ้งความดำเนินคดี เพราะเป็นการละเมิดเครื่อหมายการค้าของไทย ที่ผ่านมาได้เน้นย้ำให้ผู้ส่งออกข้าวใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
ขณะเดียวกัน กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยในประเทศต่างๆ ที่เป็นตลาดข้าวหอมมะลิไทยที่สำคัญทั่วโลกด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาให้เด็ดขาด จึงขอย้ำให้ผู้ส่งออกให้ความร่วมมือใช้เครื่องหมายรับรองข้าวตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และใช้วิธีส่งออกข้าวเป็นถุงเล็กเพื่อปลอมปนได้ยาก
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว ยังกล่าวถึงการขยายตลาดข้าวในต่างประเทศด้วยว่า ปีนี้คาดการณ์ว่าอินโดนีเซียต้องการนำเข้าข้าวไทย เป็นข้าวขาว 15% และ 10% ไม่ต่ำกว่า 1 แสนตัน อิหร่าน 5-6 แสนตัน และจากความต้องการตลาดข้าวอื่นๆ จึงเชื่อว่าปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 9.5 ล้านตัน ส่วนข้าวหอมมะลิส่งไปทั่วโลก ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 1.8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 42,000 ล้านบาท โดยจีนเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิไทย ถึงร้อยละ 90
ขณะเดียวกัน กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยในประเทศต่างๆ ที่เป็นตลาดข้าวหอมมะลิไทยที่สำคัญทั่วโลกด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาให้เด็ดขาด จึงขอย้ำให้ผู้ส่งออกให้ความร่วมมือใช้เครื่องหมายรับรองข้าวตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และใช้วิธีส่งออกข้าวเป็นถุงเล็กเพื่อปลอมปนได้ยาก
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว ยังกล่าวถึงการขยายตลาดข้าวในต่างประเทศด้วยว่า ปีนี้คาดการณ์ว่าอินโดนีเซียต้องการนำเข้าข้าวไทย เป็นข้าวขาว 15% และ 10% ไม่ต่ำกว่า 1 แสนตัน อิหร่าน 5-6 แสนตัน และจากความต้องการตลาดข้าวอื่นๆ จึงเชื่อว่าปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 9.5 ล้านตัน ส่วนข้าวหอมมะลิส่งไปทั่วโลก ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 1.8 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 42,000 ล้านบาท โดยจีนเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิไทย ถึงร้อยละ 90