ศ.ดร. มาร์ค บีสัน ศาสตราจารย์ชื่อดัง ประจำภาควิชาการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham) ได้ออกมาระบุว่า การที่กระบวนการยุติธรรมของไทยกำลังมีความพยายามที่จะนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย กลับไปรับโทษตามคำตัดสินของศาลไทย ในฐานะของผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ถือเป็นความพยายามที่ยากจะประสบความสำเร็จได้ และถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จ คงต้องใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี เป็นอย่างน้อย
ดร. บีสัน ระบุว่า ในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความได้เปรียบทางการไทยในหลายด้าน ประการแรก คือ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีฐานะเป็นผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง แต่ถูกโค่นอำนาจโดยคณะนายทหาร ซึ่งนานาประเทศ แม้แต่รัฐบาลอังกฤษเองก็ไม่ได้ให้การยอมรับ ส่วนข้อได้เปรียบประการที่ 2 คือ การที่คดีความต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกนานาชาติมองว่า เป็นข้อหาทางการเมือง
ดร.บีสัน ระบุว่า จากข้อได้เปรียบทั้ง 2 ประการดังกล่าว ทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่ทางการอังกฤษจะส่งตัวอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยกลับไปรับโทษในประเทศไทย และถึงแม้ว่าจะสามารถส่งตัวกลับประเทศไทยได้ คงต้องใช้เวลานานถึง 10-15 ปี กว่าที่การส่งตัวจะเกิดขึ้น เนื่องจากกระบวนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และต้องพิจารณาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด
ทั้งนี้ ดร. บีสัน ถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ระดับแถวหน้าของอังกฤษ โดยเป็นเจ้าของผลงานเขียนชื่อ Securing Southeast Asia : The Politics of Security Sector Reform ที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้
ดร. บีสัน ระบุว่า ในขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความได้เปรียบทางการไทยในหลายด้าน ประการแรก คือ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีฐานะเป็นผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง แต่ถูกโค่นอำนาจโดยคณะนายทหาร ซึ่งนานาประเทศ แม้แต่รัฐบาลอังกฤษเองก็ไม่ได้ให้การยอมรับ ส่วนข้อได้เปรียบประการที่ 2 คือ การที่คดีความต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกนานาชาติมองว่า เป็นข้อหาทางการเมือง
ดร.บีสัน ระบุว่า จากข้อได้เปรียบทั้ง 2 ประการดังกล่าว ทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่ทางการอังกฤษจะส่งตัวอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยกลับไปรับโทษในประเทศไทย และถึงแม้ว่าจะสามารถส่งตัวกลับประเทศไทยได้ คงต้องใช้เวลานานถึง 10-15 ปี กว่าที่การส่งตัวจะเกิดขึ้น เนื่องจากกระบวนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และต้องพิจารณาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด
ทั้งนี้ ดร. บีสัน ถือเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ระดับแถวหน้าของอังกฤษ โดยเป็นเจ้าของผลงานเขียนชื่อ Securing Southeast Asia : The Politics of Security Sector Reform ที่เพิ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้