นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการที่จัดทำอีไอเอในส่วนโครงการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีกว่า 3,000 โครงการ พบว่าร้อยละ 35 ไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามอีไอเอ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของแนวโน้มก็เป็นตัวเลขที่ลดลงจากเดิมที่ไม่ปฏิบัติตามถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยสาเหตุหลักเกิดจากขาดงบประมาณในการสนับสนุนโครงการ ผู้ดำเนินโครงการหรือผู้รับเหมาละเลยหรือไม่ปฏิบัติตาม และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยโครงการประเภทแหล่งน้ำเป็นโครงการที่ไม่ปฏิบัติตามอีไอเอมากที่สุดถึงร้อยละ 50 รองลงมาคือประเภทที่อยู่อาศัย และคมนาคม
ทั้งนี้ จะนำผลการศึกษานำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้แจ้งต่อกระทรวงหรือหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในอีไอเอ และในปี 2552 จะมีมาตรการติดตามการปฏิบัติตามอีไอเอของภาคเอกชน โดยจะร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจังหวัด เนื่องจากอีไอเอของภาคเอกชนที่อนุมัติไปมีถึงกว่า 2,000 โครงการ
เลขาธิการ สผ.กล่าวว่า ข้อสังเกตที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะเกิดการล็อบบี้ การทำอีไอเอ ระหว่างหน่วยงานผู้ว่าจ้างและบริษัทที่รับทำอีไอเอนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากผู้ที่จะประเมินว่าอีไอเอผ่านหรือไม่ คือคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และหากบริษัทที่ทำอีไอเอ รายงานข้อมูลเท็จ สผ.จะถอนหรือระงับใบอนุญาตของบริษัทนั้นทันที ซึ่งที่ผ่านมามีการระงับแล้วกว่า 10 โครงการ และถอนใบอนุญาต 1 โครงการ
นายสิทธิชัย เชี่ยวยืนยง ผู้อำนวยการการฝ่ายอำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อีไอเอ ต้องการคนที่มีความรู้ความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดเป็นผู้จัดทำ หากไม่รู้จริงอาจกลายเป็นข้อผูกมัดและเป็นปัญหาในภายหลัง เพราะการแก้อีไอเอบ่อยๆ ถือเป็นการสูญเม็ดเงินโดยเปล่าประโยชน์ และอยากให้ สผ. ช่วยหาวิธีลดภาระและทำให้เป็นจริงตามที่กำหนด เพราะวิธีปฏิบัติยังเป็นแบบตำรวจจับผู้ร้าย ควรเปลี่ยนเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อโน้มน้าวให้ทุกฝ่ายปฏิบัติโดยสมัครใจ และทำสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ จะนำผลการศึกษานำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้แจ้งต่อกระทรวงหรือหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในอีไอเอ และในปี 2552 จะมีมาตรการติดตามการปฏิบัติตามอีไอเอของภาคเอกชน โดยจะร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจังหวัด เนื่องจากอีไอเอของภาคเอกชนที่อนุมัติไปมีถึงกว่า 2,000 โครงการ
เลขาธิการ สผ.กล่าวว่า ข้อสังเกตที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะเกิดการล็อบบี้ การทำอีไอเอ ระหว่างหน่วยงานผู้ว่าจ้างและบริษัทที่รับทำอีไอเอนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากผู้ที่จะประเมินว่าอีไอเอผ่านหรือไม่ คือคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และหากบริษัทที่ทำอีไอเอ รายงานข้อมูลเท็จ สผ.จะถอนหรือระงับใบอนุญาตของบริษัทนั้นทันที ซึ่งที่ผ่านมามีการระงับแล้วกว่า 10 โครงการ และถอนใบอนุญาต 1 โครงการ
นายสิทธิชัย เชี่ยวยืนยง ผู้อำนวยการการฝ่ายอำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อีไอเอ ต้องการคนที่มีความรู้ความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมดเป็นผู้จัดทำ หากไม่รู้จริงอาจกลายเป็นข้อผูกมัดและเป็นปัญหาในภายหลัง เพราะการแก้อีไอเอบ่อยๆ ถือเป็นการสูญเม็ดเงินโดยเปล่าประโยชน์ และอยากให้ สผ. ช่วยหาวิธีลดภาระและทำให้เป็นจริงตามที่กำหนด เพราะวิธีปฏิบัติยังเป็นแบบตำรวจจับผู้ร้าย ควรเปลี่ยนเป็นการให้คำปรึกษาเพื่อโน้มน้าวให้ทุกฝ่ายปฏิบัติโดยสมัครใจ และทำสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด