นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างราคาสินค้าเหล็กว่า หลังจากราคาเหล็กตลาดโลกซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันตลาดโลก โดยคาดว่าเดือนตุลาคมนี้ราคาเหล็กตลาดโลกจะปรับลดลงเฉลี่ย 14,000 บาทต่อตัน
นางวัชรี กล่าวว่า เมื่อราคาเหล็กตลาดโลก ทำให้ต้นทุนเหล็กโดยเฉพาะเหล็กเส้นนำเข้าจะปรับลดลงเหลือประมาณ 28,250 บาทต่อตัน เหล็กแผ่นลดเหลือ 30,000-32,000 บาทต่อตัน ซึ่งราคาดังกล่าวจะได้เห็นประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เมื่อต้นทุนวัตถุดิบตลาดโลกลดลง ส่งผลให้ต้นทุนนำเข้าเหล็กปรับลดลง เหล็กในประเทศก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ซึ่งขณะนี้กรมการค้าภายในกำลังติดตามราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งระบบ หลังจากนี้คณะอนุกรรมการฯ จะออกประกาศและแจ้งผู้นำเข้ารับทราบราคากลาง
ส่วนรายการสินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะอุปโภคบริโภค รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง แต่สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ที่ผ่านมาไม่ได้ปรับราคาขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้อนุมัติให้ขึ้นราคา ซึ่งด้วยระบบกลไกตลาด สินค้าอุปโภคบริโภคมีการแข่งขันสูง จึงทำให้ราคาเฉลี่ยไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก ขณะเดียวกันจากแนวโน้มต้นทุนที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนด้านค่าขนส่ง กรมการค้าภายในจึงจะติดตามว่า สินค้ารายการใดที่เคยขยับสูงขึ้นจากค่าขนส่ง ก็จะขอร้องให้ผู้ประกอบการลดราคาลงตามสถานการณ์แท้จริง เพื่อลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชน
นางวัชรี กล่าวว่า เมื่อราคาเหล็กตลาดโลก ทำให้ต้นทุนเหล็กโดยเฉพาะเหล็กเส้นนำเข้าจะปรับลดลงเหลือประมาณ 28,250 บาทต่อตัน เหล็กแผ่นลดเหลือ 30,000-32,000 บาทต่อตัน ซึ่งราคาดังกล่าวจะได้เห็นประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ เมื่อต้นทุนวัตถุดิบตลาดโลกลดลง ส่งผลให้ต้นทุนนำเข้าเหล็กปรับลดลง เหล็กในประเทศก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ซึ่งขณะนี้กรมการค้าภายในกำลังติดตามราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งระบบ หลังจากนี้คณะอนุกรรมการฯ จะออกประกาศและแจ้งผู้นำเข้ารับทราบราคากลาง
ส่วนรายการสินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะอุปโภคบริโภค รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า แม้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลดลง แต่สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ที่ผ่านมาไม่ได้ปรับราคาขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่ได้อนุมัติให้ขึ้นราคา ซึ่งด้วยระบบกลไกตลาด สินค้าอุปโภคบริโภคมีการแข่งขันสูง จึงทำให้ราคาเฉลี่ยไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก ขณะเดียวกันจากแนวโน้มต้นทุนที่ปรับลดลงตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนด้านค่าขนส่ง กรมการค้าภายในจึงจะติดตามว่า สินค้ารายการใดที่เคยขยับสูงขึ้นจากค่าขนส่ง ก็จะขอร้องให้ผู้ประกอบการลดราคาลงตามสถานการณ์แท้จริง เพื่อลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชน