น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ว่า แม้ว่าที่ประชุม 4 ฝ่าย จะมีข้อยุติร่วมกันในการแก้วิกฤติบ้านเมือง แต่ภาระรับผิดชอบยังคงอยู่ที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ที่จะพิสูจน์ความจริงใจในการแก้ปัญหาด้วยความสมานฉันท์ แต่เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจัมกุมตัวแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และการบรรจุร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) เข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสัปดาห์หน้า คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเดินยุทธศาสตร์เกมสองหน้า คือหน้าที่ 1 สร้างความสมานฉันท์ด้วยการพบบุคคลสำคัญต่างๆ ขณะเดียวกันก็แต่งตั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และยังคงใช้สื่อของรัฐเผยแพร่รายการความจริงวันนี้ เพราะจะยิ่งสร้างความรุนแรง และทำให้นายสมชาย พบอุปสรรคในการแก้ปัญหา ขาดความน่าเชื่อถือ ความจริงใจในการแก้ไขปัญหา
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จึงเรียกร้องนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า จะใช้แนวทางการเจรจาในการแก้ไขปัญหาหรือสลายการชุมนุม จับกุมแกนนำ ถ้านายกรัฐมนตรีตั้งใจจะลดความขัดแย้งจริงควรเลือกแนวทางการเจรจา โดยควรลดข้อหาจากกบฏเป็นบุกรุกสถานที่ราชการแทน
ขณะเดียวกันจะต้องมีท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ คปพร.ว่าจะเลื่อนการพิจารณาร่างฉบับนี้หรือจะให้ลงมติอย่างไร เพราะขณะนี้ค่อนข้างสับสน เนื่องจากนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ท้าให้พันธมิตรฯ ยื่นร่างแก้ไขประกบ นายกรัฐมนตรีต้องเลิกพูดคำว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของรัฐสภา เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมาก ต้องยืนยันว่า จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยตัวเองในคดียุบพรรค หรือช่วยเรื่องคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเดินยุทธศาสตร์เกมสองหน้า คือหน้าที่ 1 สร้างความสมานฉันท์ด้วยการพบบุคคลสำคัญต่างๆ ขณะเดียวกันก็แต่งตั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และยังคงใช้สื่อของรัฐเผยแพร่รายการความจริงวันนี้ เพราะจะยิ่งสร้างความรุนแรง และทำให้นายสมชาย พบอุปสรรคในการแก้ปัญหา ขาดความน่าเชื่อถือ ความจริงใจในการแก้ไขปัญหา
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ จึงเรียกร้องนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า จะใช้แนวทางการเจรจาในการแก้ไขปัญหาหรือสลายการชุมนุม จับกุมแกนนำ ถ้านายกรัฐมนตรีตั้งใจจะลดความขัดแย้งจริงควรเลือกแนวทางการเจรจา โดยควรลดข้อหาจากกบฏเป็นบุกรุกสถานที่ราชการแทน
ขณะเดียวกันจะต้องมีท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ คปพร.ว่าจะเลื่อนการพิจารณาร่างฉบับนี้หรือจะให้ลงมติอย่างไร เพราะขณะนี้ค่อนข้างสับสน เนื่องจากนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ท้าให้พันธมิตรฯ ยื่นร่างแก้ไขประกบ นายกรัฐมนตรีต้องเลิกพูดคำว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของรัฐสภา เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมาก ต้องยืนยันว่า จะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยตัวเองในคดียุบพรรค หรือช่วยเรื่องคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี