นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้ผ่านการเห็นชอบในการขออนุมัติวงเงินในการจัดตั้งบริษัทเดินรถในโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ จำนวน 500 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินรถในโครงการดังกล่าวในเดือนสิงหาคม 2552 โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนตุลาคมนี้ และจะใช้เวลาในการจัดตั้งบริษัท 30-45 วัน โดยคาดว่าจะใช้บุคลากรรวม 500 คน โดยการรถไฟฯ จะเป็นผู้ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเงื่อนไขของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ที่กำหนดให้การรถไฟฯ ต้องดำเนินการขับไล่ผู้บุกรุกในที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของการก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ก่อน และเมื่อการรถไฟฯ ทำการขับไล่ผู้บุกรุกเรียบร้อยแล้วทางเจบิกจึงจะปล่อยกู้วงเงินให้การรถไฟดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นคณะกรรมการยังไม่ได้ข้อสรุป และให้ถอนเรื่องออกไปก่อน โดยจะนำมาพิจารณกับทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกระทรวงการคลังอีกครั้ง ว่าจะสามารถรับเงื่อนไขของเจบิกได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ทุกโครงการที่เจบิกปล่อยกู้ให้กับการรถไฟฯไม่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้
นายยุทธนา ยังกล่าวต่อว่า สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่กิจการร่วมค้า UNUIQUE –CHUN-WO เป็นเอกชนรายเดียวที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นและสิทธิเสนอราคา จนเป็นเหตุให้บริษัทรายอื่นยื่นอุทธรณ์ผลการคัดเลือกต่อผู้ว่าการรถไฟฯ แต่การรถไฟฯ เห็นว่าคำอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นและยืนยันผลการคัดเลือกตามเดิม ต่อมากิจการร่วมค้า STCC ได้ร้องให้ศาลปกครองไต่สวนกรณีดังกล่าว และศาลปกครองได้พิจารณาให้กิจการร่วมค้า UNUIQUE –CHUN-WO เป็นผู้มีสิทธิเสนอราคาและดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟฯ เห็นว่า โครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน นั้นเป็นโครงการเร่งด่วน หากล่าช้าจะทำให้เกิดความเสียหายและประชาชนเสียโอกาสในการเดินทาง ที่สำคัญคือหากโครงการล่าช้าออกไปอีกอาจจะทำให้การรถไฟฯ ต้องปรับเพิ่มราคากลางอีก 2,000 ล้านบาท ดังนั้นคณะกรรมการจึงพิจารณาให้กิจการร่วมค้า UNUIQUE –CHUN-WO เป็นบริษัทที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเงื่อนไขของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ที่กำหนดให้การรถไฟฯ ต้องดำเนินการขับไล่ผู้บุกรุกในที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของการก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ก่อน และเมื่อการรถไฟฯ ทำการขับไล่ผู้บุกรุกเรียบร้อยแล้วทางเจบิกจึงจะปล่อยกู้วงเงินให้การรถไฟดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้นคณะกรรมการยังไม่ได้ข้อสรุป และให้ถอนเรื่องออกไปก่อน โดยจะนำมาพิจารณกับทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกระทรวงการคลังอีกครั้ง ว่าจะสามารถรับเงื่อนไขของเจบิกได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมา ทุกโครงการที่เจบิกปล่อยกู้ให้กับการรถไฟฯไม่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้
นายยุทธนา ยังกล่าวต่อว่า สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่กิจการร่วมค้า UNUIQUE –CHUN-WO เป็นเอกชนรายเดียวที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นและสิทธิเสนอราคา จนเป็นเหตุให้บริษัทรายอื่นยื่นอุทธรณ์ผลการคัดเลือกต่อผู้ว่าการรถไฟฯ แต่การรถไฟฯ เห็นว่าคำอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นและยืนยันผลการคัดเลือกตามเดิม ต่อมากิจการร่วมค้า STCC ได้ร้องให้ศาลปกครองไต่สวนกรณีดังกล่าว และศาลปกครองได้พิจารณาให้กิจการร่วมค้า UNUIQUE –CHUN-WO เป็นผู้มีสิทธิเสนอราคาและดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟฯ เห็นว่า โครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน นั้นเป็นโครงการเร่งด่วน หากล่าช้าจะทำให้เกิดความเสียหายและประชาชนเสียโอกาสในการเดินทาง ที่สำคัญคือหากโครงการล่าช้าออกไปอีกอาจจะทำให้การรถไฟฯ ต้องปรับเพิ่มราคากลางอีก 2,000 ล้านบาท ดังนั้นคณะกรรมการจึงพิจารณาให้กิจการร่วมค้า UNUIQUE –CHUN-WO เป็นบริษัทที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าวต่อไป