น.ส.อาระยา นันทโพธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่าการประชุมตัวแทนภาครัฐและเอกชนลุ่มน้ำพองครั้งล่าสุด ได้ร่วมกันลงปฏิญญาเป็นพหุภาคีเพื่อป้องกันและจัดการลำน้ำพองในช่วงภาวะเสี่ยงน้ำเน่าเสีย หากเกิดปัญหาจะสามารถตรวจสอบที่มาได้ทันที เนื่องจากสถานการณ์ลำน้ำพองน่าเป็นห่วงมาก บางเดือนพบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะใกล้ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ตามแหล่งชุมชน และพื้นที่การเกษตร
ล่าสุด การตรวจวัดคุณภาพน้ำช่วงเดือนสิงหาคม- กันยายนนี้ พบว่าไม่ได้มาตรฐานหลายแห่ง ระยะทาง 30 กิโลเมตร ตั้งแต่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ถึงฝายกั้นน้ำโครงการชลประทานหนองหวาย ซึ่งปัญหาของน้ำเน่าเสียมาจากหลายกิจกรรม หากไม่มีระบบจัดการที่ดีพอน้ำจะไหลผ่านลำห้วยหรือลำน้ำสาขาที่มีอยู่หลายแห่ง
น.ส.อาระยา กล่าวว่า พหุภาคีลุ่มน้ำพองจะต้องร่วมกันเพื่อคืนความสมบูรณ์แก่ลุ่มน้ำพองอย่างจริงจัง โดยจะต้องเก็บข้อมูลและตรวจวิเคราะห์ทุกจุดและทุกส่วนกิจกรรม รวมทั้งข้อมูลจากลำน้ำสาขาทุกแห่ง เมื่อเกิดภาวะเสี่ยงจะตรวจสอบและสกัดกั้นในจุดที่เกิดปัญหาได้ทันก่อนเน่าเสีย แม้ขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำมาก แต่คุณภาพน้ำลำน้ำพองยังไม่ดีขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา
พร้อมกันนี้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 ยังตั้งศูนย์เตือนภัยมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบเตือนภัยมลพิษทางน้ำอัตโนมัติ และตรวจวัดคุณภาพน้ำตามจุดเสี่ยง 24 ชั่วโมง
ล่าสุด การตรวจวัดคุณภาพน้ำช่วงเดือนสิงหาคม- กันยายนนี้ พบว่าไม่ได้มาตรฐานหลายแห่ง ระยะทาง 30 กิโลเมตร ตั้งแต่ท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ถึงฝายกั้นน้ำโครงการชลประทานหนองหวาย ซึ่งปัญหาของน้ำเน่าเสียมาจากหลายกิจกรรม หากไม่มีระบบจัดการที่ดีพอน้ำจะไหลผ่านลำห้วยหรือลำน้ำสาขาที่มีอยู่หลายแห่ง
น.ส.อาระยา กล่าวว่า พหุภาคีลุ่มน้ำพองจะต้องร่วมกันเพื่อคืนความสมบูรณ์แก่ลุ่มน้ำพองอย่างจริงจัง โดยจะต้องเก็บข้อมูลและตรวจวิเคราะห์ทุกจุดและทุกส่วนกิจกรรม รวมทั้งข้อมูลจากลำน้ำสาขาทุกแห่ง เมื่อเกิดภาวะเสี่ยงจะตรวจสอบและสกัดกั้นในจุดที่เกิดปัญหาได้ทันก่อนเน่าเสีย แม้ขณะนี้เป็นช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำมาก แต่คุณภาพน้ำลำน้ำพองยังไม่ดีขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา
พร้อมกันนี้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 ยังตั้งศูนย์เตือนภัยมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีระบบเตือนภัยมลพิษทางน้ำอัตโนมัติ และตรวจวัดคุณภาพน้ำตามจุดเสี่ยง 24 ชั่วโมง