นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาสุกรหน้าฟาร์มตกต่ำลงเหลือกิโลกรัมละ 50-54 บาท ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงยังอยู่ที่กิโลกรัมละ 56 บาท โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองยังมีราคาอยู่ในระดับที่สูง กิโลกรัมละ 18.50-19.00 บาท จากเมื่อ 2-3 ปีก่อน ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 11-12 บาทเท่านั้น จึงอยากให้ภาครัฐช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร
นายสุรชัย กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติพลังงาน ส่งผลให้พืชที่สามารถนำมาผลิตพลังงานทดแทนปรับราคาสูงขึ้นมาก สมาคมฯ จึงอยากให้ภาครัฐช่วยปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 0 จะช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงลงได้ประมาณ 40-50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ที่สำคัญสามารถช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงที่มีอยู่ประมาณ 40,000-50,000 ครอบครัว ประคองตัวอยู่ได้ท่ามกลางวงจรราคาสุกรตกต่ำที่เริ่มขึ้นแล้วในเวลานี้
นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวอีกว่า สำหรับอัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองที่กำหนดไว้ร้อยละ 4 เป็นอัตราที่ถูกกำหนดขึ้นในช่วงที่กากถั่วเหลืองราคากิโลกรัมละ 9-10 บาท แต่ขณะนี้โครงสร้างราคาได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว จึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน มากกว่าการให้เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องมาแบกรับภาระของโรงสกัดน้ำมันพืช ซึ่งการแก้ปัญหาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะกากถั่วเหลือง เป็นสินค้าที่ประเทศไทยผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตสำคัญของโลกมากกว่าร้อยละ 90
นายสุรชัย กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติพลังงาน ส่งผลให้พืชที่สามารถนำมาผลิตพลังงานทดแทนปรับราคาสูงขึ้นมาก สมาคมฯ จึงอยากให้ภาครัฐช่วยปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 0 จะช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงลงได้ประมาณ 40-50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ที่สำคัญสามารถช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงที่มีอยู่ประมาณ 40,000-50,000 ครอบครัว ประคองตัวอยู่ได้ท่ามกลางวงจรราคาสุกรตกต่ำที่เริ่มขึ้นแล้วในเวลานี้
นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวอีกว่า สำหรับอัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองที่กำหนดไว้ร้อยละ 4 เป็นอัตราที่ถูกกำหนดขึ้นในช่วงที่กากถั่วเหลืองราคากิโลกรัมละ 9-10 บาท แต่ขณะนี้โครงสร้างราคาได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว จึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน มากกว่าการให้เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องมาแบกรับภาระของโรงสกัดน้ำมันพืช ซึ่งการแก้ปัญหาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะกากถั่วเหลือง เป็นสินค้าที่ประเทศไทยผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ จำเป็นต้องนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตสำคัญของโลกมากกว่าร้อยละ 90