นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์ภายในประเทศหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้ออกพ.ร.ก.ภาวะฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ ให้ติดตามผู้ประกอบการ ร้านค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไม่ให้ดำเนินการกักตุนสินค้า หรือขึ้นราคาสินค้า ที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยทั่วไป โดยหากพบเหตุการณ์ผิดปกติให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด จำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับ 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนประชาชนหากพบเห็นร้านค้าหรือผู้ประกอบการกระทำผิดให้แจ้งได้ที่สายด่วนแม่บ้าน 1569 ทันที
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่าสินค้าที่กรมฯ จะติดตามดูแลเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประวันของประชาชน เช่น ข้าว นม อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะ น้ำมันพืช ผงชูรส และสินค้าขั้นพื้นฐาน เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก สี ยางรถยนต์ เป็นต้น
ส่วนสินค้านมพาสเจอร์ไรซ์ จะปรับราคาขึ้นไม่เกิน 1 บาท (ขนาด 200 ซีซี) ให้กับผู้ประกอบการ 4 รายที่ขอปรับราคาเข้ามา ด้านน้ำมันถั่วเหลือง จะปรับขึ้น 4.50 บาท/ขวด แต่ราคาใหม่จะมีผลต่อเมื่อกรมฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ผลิตรับทราบแล้วเท่านั้น
ทั้งนี้ มาตรการที่จะนำมาใช้ หากเกิดภาวะไม่ปกติ จะมีการใช้พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495 เพื่อกำหนดเวลา สถานที่ และโควตาในการจำหน่ายสินค้า รวมถึงการใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ในการเพิ่มการสำรองสต๊อกสินค้า หรือปันส่วนผู้ที่มีสต๊อกสินค้ามากให้กับรายที่มีไม่เพียงพอ หรือถ้าสถานการณ์เข้าขั้นรุนแรงมาก อาจห้ามไม่ให้มีการส่งออกสินค้าชนิดที่มีปัญหา เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่าสินค้าที่กรมฯ จะติดตามดูแลเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นต่อชีวิตประวันของประชาชน เช่น ข้าว นม อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะ น้ำมันพืช ผงชูรส และสินค้าขั้นพื้นฐาน เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก สี ยางรถยนต์ เป็นต้น
ส่วนสินค้านมพาสเจอร์ไรซ์ จะปรับราคาขึ้นไม่เกิน 1 บาท (ขนาด 200 ซีซี) ให้กับผู้ประกอบการ 4 รายที่ขอปรับราคาเข้ามา ด้านน้ำมันถั่วเหลือง จะปรับขึ้น 4.50 บาท/ขวด แต่ราคาใหม่จะมีผลต่อเมื่อกรมฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ผลิตรับทราบแล้วเท่านั้น
ทั้งนี้ มาตรการที่จะนำมาใช้ หากเกิดภาวะไม่ปกติ จะมีการใช้พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495 เพื่อกำหนดเวลา สถานที่ และโควตาในการจำหน่ายสินค้า รวมถึงการใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ในการเพิ่มการสำรองสต๊อกสินค้า หรือปันส่วนผู้ที่มีสต๊อกสินค้ามากให้กับรายที่มีไม่เพียงพอ หรือถ้าสถานการณ์เข้าขั้นรุนแรงมาก อาจห้ามไม่ให้มีการส่งออกสินค้าชนิดที่มีปัญหา เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ