นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในทางทฤษฎีมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดคลื่นพายุหมุนหากมีพายุระดับความแรงสูงมาก แต่สำหรับพื้นที่อ่าวไทย โดยเฉพาะในแถบ จ.สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร มีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากจากสถิติพายุขนาดใหญ่ในรอบ 100 ปีที่พัดผ่านประเทศไทย ยังไม่มีพายุที่ระดับความแรงมาทางอ่าวไทยโดยตรง ขณะที่แนวโน้มพายุใหญ่ก็ลดลงด้วย แต่มีข้อน่าสังเกตว่าพื้นที่แถบ จ.ชุมพร และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลับมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากแนวโน้มจำนวนพายุในระยะ 50 ปีที่ผ่านมาอยู่แถบบริเวณดังกล่าวคิดเป็นค่าเฉลี่ยราว 4 ลูกต่อ 30 ปี แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยก็ตาม แต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน
ทั้งนี้ ยังเห็นว่าการที่มีผู้ออกมาเตือนก่อนหน้านี้ น่าจะใช้วิธีคิดพื้นฐานการเตือนภัยจากคลื่นสึนามิ เนื่องจากพื้นที่แถวอ่าวไทยความเปราะบางสูงมาก หากเกิดภัยจากคลื่นพายุหมุน เนื่องจากมีกิจกรรมชายฝั่งหลากหลาย และไม่มีการเตรียมความพร้อมมาก่อนล่วงหน้า ขณะที่ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น ต้องมองสองด้าน คือ ทั้งความเปราะบางและความเสี่ยง จึงควรติดตามสถานการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อพร้อมรับมือถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น
ทั้งนี้ ยังเห็นว่าการที่มีผู้ออกมาเตือนก่อนหน้านี้ น่าจะใช้วิธีคิดพื้นฐานการเตือนภัยจากคลื่นสึนามิ เนื่องจากพื้นที่แถวอ่าวไทยความเปราะบางสูงมาก หากเกิดภัยจากคลื่นพายุหมุน เนื่องจากมีกิจกรรมชายฝั่งหลากหลาย และไม่มีการเตรียมความพร้อมมาก่อนล่วงหน้า ขณะที่ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น ต้องมองสองด้าน คือ ทั้งความเปราะบางและความเสี่ยง จึงควรติดตามสถานการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อพร้อมรับมือถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น