การประชุมวุฒิสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ วันนี้ (8 ส.ค.) เริ่มเมื่อเวลา 09.30 น. โดยมีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ ประธานการประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่
หลังจากนั้นได้พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับฯ พิจารณาแล้วเสร็จ แต่ที่ประชุมเห็นว่าให้ถอนร่างข้อบังคับดังกล่าวออกไปก่อน เพราะไม่เข้าข่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ที่กำหนดให้การเปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ ต้องเป็นการพิจารณากฎหมาย หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งร่างข้อบังคับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย จึงไม่สามารถพิจารณาได้ อีกทั้งการจะพิจารณาข้อบังคับการประชุมควรเป็นการพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา โดยได้รับเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 เป็นการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ
นอกจากนี้ สมาชิกวุฒิสภายังขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างฯ กลับไปเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน โดยเฉพาะข้อ 32 ว่าด้วยการลงโทษสมาชิกวุฒิสภาที่กระทำผิดจริยธรรมด้วยการตักเตือน ตำหนิ หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์
จากนั้นที่ประชุมได้มีมติ 118 ต่อ 3 เสียง ส่งกลับการเลือกประธานและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. จำนวน 6 คน ได้แก่ 1.นายพิศาล พิริยะสถิต ประธาน ป.ป.ท. 2.นายไสว พราหมณี อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน 3.นายบุญปลูก ชายเกตุ 4.นายอุดม มั่งมีดี 5.นายถวิล อินทรักษา และ 6.นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ กรรมการ ป.ป.ท. ตามที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ เพราะเห็นว่าขั้นตอนการลงมติเลือกไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากลงคะแนนเลือกโดยใช้เสียงเห็นชอบเพียง 202 เสียง ไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งจะส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
หลังจากนั้นได้พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับฯ พิจารณาแล้วเสร็จ แต่ที่ประชุมเห็นว่าให้ถอนร่างข้อบังคับดังกล่าวออกไปก่อน เพราะไม่เข้าข่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ที่กำหนดให้การเปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ ต้องเป็นการพิจารณากฎหมาย หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งร่างข้อบังคับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย จึงไม่สามารถพิจารณาได้ อีกทั้งการจะพิจารณาข้อบังคับการประชุมควรเป็นการพิจารณาร่วมกันของรัฐสภา โดยได้รับเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 เป็นการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติ
นอกจากนี้ สมาชิกวุฒิสภายังขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างฯ กลับไปเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน โดยเฉพาะข้อ 32 ว่าด้วยการลงโทษสมาชิกวุฒิสภาที่กระทำผิดจริยธรรมด้วยการตักเตือน ตำหนิ หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์
จากนั้นที่ประชุมได้มีมติ 118 ต่อ 3 เสียง ส่งกลับการเลือกประธานและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. จำนวน 6 คน ได้แก่ 1.นายพิศาล พิริยะสถิต ประธาน ป.ป.ท. 2.นายไสว พราหมณี อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน 3.นายบุญปลูก ชายเกตุ 4.นายอุดม มั่งมีดี 5.นายถวิล อินทรักษา และ 6.นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ กรรมการ ป.ป.ท. ตามที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ เพราะเห็นว่าขั้นตอนการลงมติเลือกไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากลงคะแนนเลือกโดยใช้เสียงเห็นชอบเพียง 202 เสียง ไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งจะส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป