นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความจำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับการสำรองน้ำมันไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศสมาชิก เนื่องจากประเทศอาเซียนและกลุ่มอาเซียน + 3 มีการใช้พลังงานสูงมาก ขณะที่จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นส่วนใหญ่นำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางผ่านทางอาเซียน ถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้ทั้งหมด ดังนั้น หากมีความร่วมมือด้านพลังงานจะทำให้อาเซียนกลายเป็นจุดศูนย์กลางด้านพลังงานของโลก สร้างอำนาจต่อรองด้านพลังงานได้สูงขึ้น โดยประเทศสมาชิกให้ความสนใจกับการสำรองน้ำมันมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดว่าจะสร้างแหล่งสำรองน้ำมันร่วมกันไว้ที่ใด ประเทศใดเป็นผู้จัดเก็บ และการนำมาใช้ด้วยวิธีใด ส่วนไทยมองว่าเส้นทางการขนส่งทางทะเลจากกระบี่ถึง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช จะเป็นทางเลือกในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาคได้ ทั้งนี้ หากอาเซียนจะเดินหน้าเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ต้องเน้นด้านการบูรณาการพลังงานเชื่อมต่อเข้าด้วยกันให้ครอบคลุม เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และกำหนดทิศทางเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมั่นคง
เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า นอกจากการจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงของอาเซียนแล้ว การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จำเป็นเช่นกัน โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก และเข้ามาช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาระบบมาตรฐานการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาเซียนจำเป็นต้องเรียนรู้และร่วมมือกันต่อไป
เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า นอกจากการจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงของอาเซียนแล้ว การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพก็จำเป็นเช่นกัน โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก และเข้ามาช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาระบบมาตรฐานการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาเซียนจำเป็นต้องเรียนรู้และร่วมมือกันต่อไป