ธุรกิจบัณฑิตย์โพล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขของชาวกรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2551 โดยสอบถามคนกรุงเทพฯ 1,138 คน พบว่า ดัชนีชี้วัดความสุขทั้ง 8 ด้าน คือ การมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว ความยินดีทำประโยชน์หรือกิจกรรมเพื่อสังคมเมื่อมีโอกาส ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นอิสระในการใช้ความคิดในการทำงาน ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี และความพอใจในฐานะความเป็นอยู่ เท่ากับ 97.66 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2551 ซึ่งเท่ากับ 100 หรือลดลงร้อยละ 2.34
นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ช่วงอายุ 25-29 ปี มีความสุขลดลงร้อยละ 5.2 ในขณะที่ช่วงอายุ 50-59 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.48 เมื่อเปรียบเทียบความสุขของคนกรุงเทพฯ ที่มีอาชีพแตกต่างกันพบว่าลดลงในทุกๆ อาชีพ ยกเว้นอาชีพนักเรียนและนักศึกษาและผู้ว่างงานร้อยละ 4.01 เมื่อเปรียบเทียบความสุขของคนกรุงเทพฯ ที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษาพบว่าลดลง ร้อยละ 2.34 ในขณะที่ความสุขของคนกรุงเทพฯ ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีความสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสุขของคนกรุงเทพฯ ลดลงมากที่สุด 2 ลำดับ คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความสำเร็จในหน้าที่การงาน
นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ช่วงอายุ 25-29 ปี มีความสุขลดลงร้อยละ 5.2 ในขณะที่ช่วงอายุ 50-59 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.48 เมื่อเปรียบเทียบความสุขของคนกรุงเทพฯ ที่มีอาชีพแตกต่างกันพบว่าลดลงในทุกๆ อาชีพ ยกเว้นอาชีพนักเรียนและนักศึกษาและผู้ว่างงานร้อยละ 4.01 เมื่อเปรียบเทียบความสุขของคนกรุงเทพฯ ที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษาพบว่าลดลง ร้อยละ 2.34 ในขณะที่ความสุขของคนกรุงเทพฯ ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามีความสุขเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.87 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสุขของคนกรุงเทพฯ ลดลงมากที่สุด 2 ลำดับ คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความสำเร็จในหน้าที่การงาน