ธุรกิจบัณฑิตย์โพล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขของชาวกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน 2551 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯ จำนวน 1,089 คน กระจายไปตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา โดยวัดจากการมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว ความยินดีทำประโยชน์หรือกิจกรรมเพื่อสังคมเมื่อมีโอกาส ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความเป็นอิสระในการใช้ความคิดในการทำงาน ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี และความพอใจในฐานะความเป็นอยู่ พบว่าอยู่ในระดับ 3.35 จากระดับสูงสุด 5 ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการสำรวจเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับ 3.41 ความสุขของคนกรุงเทพฯลดลงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.76
สำหรับสาเหตุสำคัญซึ่งทำให้ความสุขของชาวกรุงเทพฯ ลดลงคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดลงร้อยละ 5.28 การมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ลดลงร้อยละ 4.42 ความสำเร็จในหน้าที่การงาน ลดลงร้อยละ 4.33 ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว ลดลงร้อยละ 1.67 เรื่องที่ทำให้ชาวกรุงเทพฯ มีความสุขเพิ่มมากขึ้นมีเพียงเรื่องเดียวคือ การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือร้อยละ 0.55 เท่านั้น
สำหรับสาเหตุสำคัญซึ่งทำให้ความสุขของชาวกรุงเทพฯ ลดลงคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดลงร้อยละ 5.28 การมีเงินพอใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ลดลงร้อยละ 4.42 ความสำเร็จในหน้าที่การงาน ลดลงร้อยละ 4.33 ความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันของสมาชิกในครอบครัว ลดลงร้อยละ 1.67 เรื่องที่ทำให้ชาวกรุงเทพฯ มีความสุขเพิ่มมากขึ้นมีเพียงเรื่องเดียวคือ การคิดดีและทำในสิ่งที่ดี แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คือร้อยละ 0.55 เท่านั้น