น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ไม่รู้สึกกดดัน แม้ว่านายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี แม้ก่อนหน้านี้จะมีกระแสข่าวว่านายวีรพงษ์ กับ ธปท.มีวามเห็นขัดแย้งกันในเรื่องนโยบายดูแลเศรษฐกิจ โดย ธปท.เชื่อว่า นักเศรษฐศาสตร์มีความคิดเห็นในการดูแลเศรษฐกิจที่แตกต่างกันได้และทุกคนก็อยากเห็นเศรษฐกิจไทยเติบโตระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งการที่คนเข้ามาเสริมมุมมองด้านเศรษฐกิจก็จะหลากหลายมากขึ้น จะช่วยให้การดำเนินนโยบายถูกทิศทางและมีความรอบคอบขึ้น
น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ของ ธปท.เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อมีเป้าหมายที่จะดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายเดียวกันกับรัฐบาล ธปท.จึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เพราะหากอัตราเงินเฟ้อสูงเกินไปก็ย่อมมีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจระยะยาวได้ธปท.เชื่อว่าจะสามารถทำงานกับรัฐบาลในลักษณะเสริมกัน เพราะนโยบาย 6 มาตรการฯ ก็มีส่วนบรรเทา
ความเดือดร้อนของประชาชน และกระตุ้นทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้
ส่วนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดปัจจุบัน ซึ่งจะหมดวาระวันที่ 30 สิงหาคมนี้และจะมี กนง.ชุดใหม่นั้น น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า ต้องยึดหลักดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเหมือนเดิม เนื่องจากเป็นอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น จึงไม่ต้องวิตกว่า กนง.ชุดใหม่จะมุ่งดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าเสถียรภาพ
น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ของ ธปท.เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อมีเป้าหมายที่จะดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายเดียวกันกับรัฐบาล ธปท.จึงจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย เพราะหากอัตราเงินเฟ้อสูงเกินไปก็ย่อมมีผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจระยะยาวได้ธปท.เชื่อว่าจะสามารถทำงานกับรัฐบาลในลักษณะเสริมกัน เพราะนโยบาย 6 มาตรการฯ ก็มีส่วนบรรเทา
ความเดือดร้อนของประชาชน และกระตุ้นทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้
ส่วนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดปัจจุบัน ซึ่งจะหมดวาระวันที่ 30 สิงหาคมนี้และจะมี กนง.ชุดใหม่นั้น น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า ต้องยึดหลักดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเหมือนเดิม เนื่องจากเป็นอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น จึงไม่ต้องวิตกว่า กนง.ชุดใหม่จะมุ่งดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าเสถียรภาพ