นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจเอกชนของประเทศ ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย มีมาถึงร้อยละ 90.1 โดยส่งผลให้เกิดหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 ด้านผลกระทบจากราคาน้ำมัน ส่งผลให้มีการปรับค่าขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.4 โดยผู้ประกอบการจะมีการรับมือในส่วนของการขึ้นราคาสินค้า และหันไปใช้พลังงานทดแทน เช่น แอลพีซี แก๊สโซฮอล์ และเอ็นจีวีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของภาพรวมธุรกิจในปัจจุบัน เชื่อว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 51 ยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 4.5 - 5 ซึ่งมาตรการที่เอกชนยังคงต้องการให้รัฐดูแลเป็นพิเศษนั้น ได้แก่ การตรึงราคาพลังงาน กระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการตรึงอัตราดอกเบี้ย โดยเงินเฟ้อนั้นคาดว่าไม่เกินเลข 2 หลัก และคงอยู่ในระดับร้อยละ 9
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองนั้น นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หลังจากปรับคณะรัฐมนตรีจะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพปานกลางและมากขึ้น ร้อยละ 53.8 และ 21.8 ตามลำดับ โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเห็นด้วยกับ 6 มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ กว่าร้อยละ 95 ส่วนการยุบสภานั้นเห็นว่าไม่ควรอย่างยิ่ง ร้อยละ 85.3 เพราะจะทำให้เศรษฐกิจของภาคเอกชนรวมทั้งประเทศ ทรุดตัวแย่ลงไปอีก
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองนั้น นายธนวรรธน์ กล่าวว่า หลังจากปรับคณะรัฐมนตรีจะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพปานกลางและมากขึ้น ร้อยละ 53.8 และ 21.8 ตามลำดับ โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเห็นด้วยกับ 6 มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ กว่าร้อยละ 95 ส่วนการยุบสภานั้นเห็นว่าไม่ควรอย่างยิ่ง ร้อยละ 85.3 เพราะจะทำให้เศรษฐกิจของภาคเอกชนรวมทั้งประเทศ ทรุดตัวแย่ลงไปอีก