รัฐมนตรีต่างประเทศสมาชิกกลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์ หลังจากการร่วมหารือระหว่างการรับประทานอาหารค่ำเมื่อคืนนี้ โดยรัฐมนตรีชาติอาเซียนต่างแสดงความกังวลต่อปัญหาความขัดแย้งบริเวณพรมแดนเชิงเขาพระวิหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชา
นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ระบุว่า ตัวแทนของทั้งสองประเทศต่างยืนยันว่าจะใช้ความอดทนในการแก้ปัญหา นอกจากนั้น ยังแสดงความยินดีหากอาเซียนจะเป็นตัวกลางประสานความไม่ลงรอย เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ก้าวหน้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีบทบาทต่อชาติสมาชิกมากยิ่งขึ้น
มีรายงานว่า นายเนียน วิน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่า ได้ให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะปูทางไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ขณะนี้จึงเหลือเพียงประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ยังไม่ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ซึ่งทั้ง 3 ประเทศจะต้องรับรองภายในการประชุมปลายปีนี้เท่านั้น
และวันสุดท้ายของการประชุม ไทยจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ โดยจะทำหน้าที่เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม จนถึงปลายปีหน้า ภารกิจหลักคือ ต้องจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้ง เป็นเจ้าภาพการประชุมอื่นๆ ของอาเซียนตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ดำรงตำแหน่งประธาน และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปีหน้า
สำหรับการประชุมครั้งนี้ ประธานอาเซียนจะต้องลงนามในสัญญา 5 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์เรื่องการรับรองกฎบัตรอาเซียน บันทึกความเข้าใจแผนการความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2 การยอมรับเกาหลีเหนือให้เข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียน แผนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย และแถลงการณ์การประชุม ARF
นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ระบุว่า ตัวแทนของทั้งสองประเทศต่างยืนยันว่าจะใช้ความอดทนในการแก้ปัญหา นอกจากนั้น ยังแสดงความยินดีหากอาเซียนจะเป็นตัวกลางประสานความไม่ลงรอย เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ก้าวหน้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่มีบทบาทต่อชาติสมาชิกมากยิ่งขึ้น
มีรายงานว่า นายเนียน วิน รัฐมนตรีต่างประเทศพม่า ได้ให้การรับรองกฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะปูทางไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ขณะนี้จึงเหลือเพียงประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ยังไม่ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ซึ่งทั้ง 3 ประเทศจะต้องรับรองภายในการประชุมปลายปีนี้เท่านั้น
และวันสุดท้ายของการประชุม ไทยจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ โดยจะทำหน้าที่เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม จนถึงปลายปีหน้า ภารกิจหลักคือ ต้องจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้ง เป็นเจ้าภาพการประชุมอื่นๆ ของอาเซียนตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ดำรงตำแหน่งประธาน และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปีหน้า
สำหรับการประชุมครั้งนี้ ประธานอาเซียนจะต้องลงนามในสัญญา 5 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์เรื่องการรับรองกฎบัตรอาเซียน บันทึกความเข้าใจแผนการความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2 การยอมรับเกาหลีเหนือให้เข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียน แผนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย และแถลงการณ์การประชุม ARF