องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประเทศในเอเชียหลายประเทศ ไม่มีห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายชนิด และมีผู้ป่วยในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เพียงร้อยละ 1 จากทั้งหมดราว 150,000 คน ที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ดร.เปียเตอร์ ฟาน มาเรน ที่ปรึกษาด้านวัณโรคขององค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก กล่าวว่า ไม่มีประเทศใดในเอเชียที่กระตือรือร้นในการต่อสู้กับวัณโรคดื้อยาหลายชนิด ดังนั้น กลุ่มผู้นำชาติเอเชียจึงจำเป็นต้องเข้าใจ และตระหนักถึงความเสี่ยงของโรคนี้ ที่อาจถ่ายทอดสู่บุตรหลานได้โดยการไอ
วัณโรคดื้อยาหลายชนิด เกิดจากการจัดการมาตรฐานการรักษาวัณโรคที่ไม่ดีและการอพยพย้ายถิ่น การอยู่อาศัยในเขตเมือง ยิ่งทำให้อัตราการเกิดโรคสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5 จากผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ร้อยละ 9 ทั่วโลก ในจีนพบผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคดื้อยาหลายชนิดจำนวน 1 ใน 10 ของผู้ป่วยวัณโรค ส่วนฟิลิปปินส์ ก็ประสบปัญหานี้รุนแรงเช่นกัน ซึ่งหากจัดการกับโรคชนิดนี้ไม่ดีพอ อาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของวัณโรคดื้อยาเกือบทุกชนิด โดยการระบาดของวัณโรคดื้อยาเกือบทุกชนิดเมื่อปี 2548 ทำให้มีผู้เสียชีวิตในแอฟริกาใต้ 52 คน
วัณโรคดื้อยาหลายชนิด เกิดจากการจัดการมาตรฐานการรักษาวัณโรคที่ไม่ดีและการอพยพย้ายถิ่น การอยู่อาศัยในเขตเมือง ยิ่งทำให้อัตราการเกิดโรคสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 5 จากผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ร้อยละ 9 ทั่วโลก ในจีนพบผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคดื้อยาหลายชนิดจำนวน 1 ใน 10 ของผู้ป่วยวัณโรค ส่วนฟิลิปปินส์ ก็ประสบปัญหานี้รุนแรงเช่นกัน ซึ่งหากจัดการกับโรคชนิดนี้ไม่ดีพอ อาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของวัณโรคดื้อยาเกือบทุกชนิด โดยการระบาดของวัณโรคดื้อยาเกือบทุกชนิดเมื่อปี 2548 ทำให้มีผู้เสียชีวิตในแอฟริกาใต้ 52 คน