นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นำคณะเยี่ยมชมระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือ โมโนเรล (Mono Rail) ที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งแสดงความสนใจที่จะนำมาพัฒนาในประเทศไทย เพราะสามารถก่อสร้างสถานีและโครงสร้างพื้นฐานบนถนนที่มีช่องจราจรที่แคบ และลงทุนน้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าทั่วไปด้วย ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ศึกษาเพิ่มเติมว่ามีถนนเส้นใดบ้างที่สามารถพัฒนาระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลได้ เช่น เพชรบุรี หรือลาดพร้าว รวมถึงเส้นทางเลียบคลองแสนแสบด้วย
ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่บนคานเดียว ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้าง เหลือกิโลเมตรละ 600 - 800 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารแต่ละเส้นทางได้ประมาณวันละ 100,000 คน
ขณะที่นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเดินทางร่วมคณะไปด้วย เปิดเผยว่า เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) ซึ่งให้เงินกู้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ) ตกลงจะเพิ่มวงเงินกู้ให้กับไทยอีก 4,000 - 5,000 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 32,000 ล้านบาท ตามต้นทุนค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต - บางซื่อ) ก็คาดว่าจะได้รับเงินกู้จากเจบิกประมาณ 80,000 ล้านบาทด้วย
ส่วนหนี้สาธารณะที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เชื่อว่าจะอยู่ในเพดานที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี
ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่บนคานเดียว ทำให้ประหยัดต้นทุนค่าก่อสร้าง เหลือกิโลเมตรละ 600 - 800 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารแต่ละเส้นทางได้ประมาณวันละ 100,000 คน
ขณะที่นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเดินทางร่วมคณะไปด้วย เปิดเผยว่า เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) ซึ่งให้เงินกู้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ) ตกลงจะเพิ่มวงเงินกู้ให้กับไทยอีก 4,000 - 5,000 ล้านบาท จากวงเงินเดิม 32,000 ล้านบาท ตามต้นทุนค่าก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต - บางซื่อ) ก็คาดว่าจะได้รับเงินกู้จากเจบิกประมาณ 80,000 ล้านบาทด้วย
ส่วนหนี้สาธารณะที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เชื่อว่าจะอยู่ในเพดานที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของจีดีพี