นายไซมอน จอห์นสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เปิดเผยว่า ผลกระทบจากวิกฤตปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์ หรือ ซับไพรม์ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในอัตราช้ากว่าที่คาดไว้ จึงไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรุนแรงอย่างที่คิด ดังนั้น IMF จึงปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เป็น 4.1% ในปีนี้ และ 3.9% ในปีหน้า จากที่เคยทำนายไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า ในปีนี้เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.7% และปีหน้าจะอยู่ที่ 3.8%
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้น คาดว่าปีนี้จะขยายตัว 1.3% จากเดิมที่คาดว่าโตเพียง 0.5% ทางฝั่งยุโรปปรับเพิ่มจาก 1.4% เป็น 1.7% ญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ 1.5% ส่วนประเทศเศรษฐกิจโตเร็วอย่างจีน คาดว่าจะขยายตัว 9.7% อินเดีย 8.0% ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง จะขยายตัว 4.2%
อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่า เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในช่วงยากลำบาก เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าในประเทศที่พัฒนาแล้วชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว จึงเชื่อว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เศรษฐกิจโลกจะต้องเผชิญกับภาวะถดถอย เนื่องจากปัจจุบันเกิดปัญหาเงินเฟ้อไปทั่วโลก อันมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบและราคาอาหารทะยานไม่หยุด ประกอบกับความวิตกกังวลเรื่องปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์
ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้น คาดว่าปีนี้จะขยายตัว 1.3% จากเดิมที่คาดว่าโตเพียง 0.5% ทางฝั่งยุโรปปรับเพิ่มจาก 1.4% เป็น 1.7% ญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ 1.5% ส่วนประเทศเศรษฐกิจโตเร็วอย่างจีน คาดว่าจะขยายตัว 9.7% อินเดีย 8.0% ขณะที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง จะขยายตัว 4.2%
อย่างไรก็ตาม IMF เตือนว่า เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในช่วงยากลำบาก เนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าในประเทศที่พัฒนาแล้วชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว จึงเชื่อว่ายังมีความเป็นไปได้ที่ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เศรษฐกิจโลกจะต้องเผชิญกับภาวะถดถอย เนื่องจากปัจจุบันเกิดปัญหาเงินเฟ้อไปทั่วโลก อันมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบและราคาอาหารทะยานไม่หยุด ประกอบกับความวิตกกังวลเรื่องปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์