องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) ยืนยันว่า ปัจจุบันมีประชากรโลกถึง 2,500 ล้านคน ที่มีห้องน้ำใช้ไม่เพียงพอ หรือไม่มีห้องน้ำใช้เลย ปัญหานี้มักพบมากในทวีปเอเชียและแอฟริกา ซึ่งการขับถ่ายอย่างไม่ถูกสุขลักษณะถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กติดเชื้อ จนเกิดอาการท้วงร่วงถึงขั้นเสียชีวิต
แม้จำนวนประชากรโลกที่ขับถ่ายกลางแจ้งจะลดลงจนเหลือไม่ถึงร้อยละ 18 นับจากปี 2533 แต่ปัจจุบันก็ยังมีประชากรโลกถึง 1,200 ล้านคน ที่ไม่นิยมใช้ห้องน้ำเวลาขับถ่าย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบเอเชียใต้ ที่ประชากรราวครึ่งหนึ่งยังคงเคยชินกับนิสัยขับถ่ายกลางแจ้ง
ส่วนการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดนับว่าดีขึ้น รายงานของสหประชาชาติ คาดว่าจะมีประชากรโลกกว่าร้อยละ 90 ที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดก่อนปี 2558 แต่เมื่อเทียบกันระหว่างพื้นที่ในชนบทกับในตัวเมือง พบว่าคนชนบทมีแนวโน้มมากกว่าถึง 4 เท่า ที่จะไม่มีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค
แม้จำนวนประชากรโลกที่ขับถ่ายกลางแจ้งจะลดลงจนเหลือไม่ถึงร้อยละ 18 นับจากปี 2533 แต่ปัจจุบันก็ยังมีประชากรโลกถึง 1,200 ล้านคน ที่ไม่นิยมใช้ห้องน้ำเวลาขับถ่าย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบเอเชียใต้ ที่ประชากรราวครึ่งหนึ่งยังคงเคยชินกับนิสัยขับถ่ายกลางแจ้ง
ส่วนการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดนับว่าดีขึ้น รายงานของสหประชาชาติ คาดว่าจะมีประชากรโลกกว่าร้อยละ 90 ที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดก่อนปี 2558 แต่เมื่อเทียบกันระหว่างพื้นที่ในชนบทกับในตัวเมือง พบว่าคนชนบทมีแนวโน้มมากกว่าถึง 4 เท่า ที่จะไม่มีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค